เสริมความเข้าใจ “ยารักษาโรคซึมเศร้า”

28 มิถุนายน 2567

คณะแพทยศาสตร์

ปัจจัยที่ทำให้คนป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น สามารถพบได้ทุกช่วงอายุไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ นับได้ว่าโรคซึมเศร้าเกิดได้ทุกช่วงทุกวัย โดยสาเหตุที่เกิดโรคซึมเศร้าในแต่ละช่วงอายุจะแตกต่างกันออกไป ถ้าเป็นกลุ่มวัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน สาเหตุที่เกิดมาจากปัจจัยภายนอกเป็นตัวกระตุ้น เช่น สภาพทางสังคมในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ไม่ว่าจะเรื่องฐานะ ความเป็นอยู่ ต่างพาความเครียดสะสม และในปัจจุบันโซเชียลมีเดีย เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งโซเชียลมีเดีย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์หดหู่ เศร้า และเกิดอารมณ์เชิงลบจากข่าวสารเชิงลบมากมาย แต่ในผู้สูงอายุ เกิดจากความเสื่อมถอยเซลล์ประสาทของสมองตามอายุขัย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า แต่ละช่วงอายุจะมีสาเหตุ และปัจจัยแตกต่างกัน


อาการระดับความรุนแรงของโรค
-ระดับไม่รุนแรงมาก
-ระดับรุนแรงปานกลาง
-ระดับรุนแรงมาก
การประเมินอาการจะมีใบประเมินในอินเตอร์เน็ต (Internet) ทุกคนสามารถเข้าเช็กตรวจสอบอาการซึมเศร้าได้ ในนั้นจะมีหลายรูปแบบการประเมิน
อาการหลักที่สังเกตเองเบื้องต้นของภาวะซึมเศร้าคือ มีความรู้สึกเชิงลบ เช่น อาจจะรู้สึกผิดเมื่อทำอะไรผิดพลาดก็จะโทษตัวเอง ด้อยค่าตัวเองมากกว่าปกติ รู้สึกหมดเรี่ยวแรง ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะทำอะไร สมาธิเริ่มหาย ทำอะไรรู้สึกไม่จดจ่อ เริ่มรู้สึกนอนหลับยาก หรือนอนมากเกินไป เคยทำอะไรแล้วเพลิดเพลิน แต่กลับรู้สึกไม่เพลิดกับสิ่งที่เคยทำ เช่นบางคนชอบออกกำลังกาย มีความสุขกับการออกกำลังกายเริ่มรู้สึกไม่อยากไป อยากอยู่เฉยๆ


หากมีความกังวลว่าจะเป็นซึมเศร้า สามารถเข้าไปทดลองประเมินได้ในแบบประเมินในอินเตอร์เน็ต (Internet) หรือแน่นอนที่สุด แนะนำให้พบแพทย์เพราะการประเมินจากแพทย์จะค่อนข้างตรงและถูกต้องที่สุด


ปัจจัยภายนอกเรื่องที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บป่วย แต่ปัจจัยภายในการแสดงออกของอารมณ์ จะถูกควบคุมโดยสมอง อารมณ์เหล่านี้ควบคุมโดยสารสื่อประสาทอยู่ 3 ชนิด คือ เซโรโทนิน โดปามีน และนอร์อิพิเนฟริน โดยการทำงานของสมองจะประกอบไปด้วยระบบประสาทหลายล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การทำงานของร่างกายจะควบคุมผ่านสมอง แม้แต่อารมณ์ แนวทางจิตเวช 3 สื่อประสาททั้ง 3 ตัวจะทำงานที่สมดุล เมื่อเสียสมดุลตัวใดตัวหนึ่งลดน้อยลง จะทำให้เกิดโรคทางจิตเวชได้


ดังนั้นสารสื่อประสาทสำคัญที่ทำให้เป็นสาเหตุคือเซโรโทนิน ผู้ป่วยซึมเศร้าจะมีสารเซโรโทนินน้อยลง จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทางการแพทย์จะมองว่าเป็นโรคซึมเศร้า
ปัจจุบันจะมี 2 แนวทางในการรักษา
1.ใช้เรื่องจิตบำบัด ผ่านจิตแพทย์โดยตรง จะเป็นรูปแบบการสอบถาม ปรับพฤติกรรม
2.การใช้ยา เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การใช้ยาจะมีผลต่อการรักษาได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ยาจะต้องผ่านการตรวจและการประเมินโดยวางแผนการรักษาจากจิตแพทย์

กลไกการออกฤทธิของยาซึมเศร้า
เมื่อทราบว่าเซโรโทนินน้อย ทำให้เกิดการซึมเศร้า จะมีการเพิ่มเซโรโทนินเพื่อปรับสมดุลด้วยยา สิ่งสำคัญในการรักษาโรคซึมเศร้า คือต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาค่อนข้างนานเป็นหลายปี อาการซึมเศร้าและอารมณ์จะค่อยๆ ดีขึ้น เริ่มนอนหลับได้ดีขึ้น ในกรณีผู้ป่วยที่นอนไม่หลับ เริ่มรู้สึกอยากทำกิจกรรมที่เคยทำ อยากพบเพื่อน ความรู้สึกเศร้าเริ่มเบาบางลง ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงรักษาระยะเริ่มต้นซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์ โดยจะต้องทานยาอย่างต่อเนื่อง อาการซึมเศร้าถึงจะเริ่มดีขึ้น หลังจากนั้นจะเริ่มอีกขั้นหนึ่งคือ อารมณ์ของผู้ป่วยจะเริ่มกลับมาปกติแล้ว ผู้ป่วยจะเริ่มอารมณ์ดีมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้น ความสนุกสนานเพลิดเพลินกับสิ่งที่เคยรักเคยทำเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ กลับมามีชีวิตชีวาขึ้น ใช้เวลานับไป 4-9 เดือน ซึ่งถ้าผู้ป่วยตอบสนองกับยาได้ดี เหมือนมีชีวิตชีวากลับมาอีก ช่วงต่อไปคืออาการเกือบ 100 เปอร์เซนต์ ผู้ป่วยต้องทานยาต่ออีกอย่างน้อย 2 ปี ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเอง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ภก.เผ่า ชื่นชม เภสัชกรประจำงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก ฝ่ายเภสัชกรรม รพ.มหาราชนครเชียงใหม่
เรียบเรียง: นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แกลลอรี่