CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
เท้าชา ภาวะแทรกซ้อนที่มากับโรคเบาหวาน
14 กุมภาพันธ์ 2565
คณะแพทยศาสตร์
ปัจจุบันพบว่าคนไทยป่วยเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น โดยในปีพ.ศ. 2550 มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 3.9 ต่อมาปีพ.ศ. 2561 พบว่ามีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.6 นอกจากนี้ยังพบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย
โรคเบาหวานกับโควิด-19 สัมพันธ์กันอย่างไร
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีหรือมีโรคร่วม มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงและเกิดผลข้างเคียงจากการติดเชื้อโควิด-19ได้มากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากระดับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง
ชนิดของโรคเบาหวาน ได้แก่
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินซูลิน - โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยจะเป็นโรคเบาหวานเฉพาะช่วงการตั้งครรภ์และจะหายไปหลังคลอด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะอื่นๆ
ภาวะก่อนเบาหวาน ในคนปกติน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ไม่ควรมีค่าเกิน 100 มก./ดล. ผู้ป่วยที่มีภาวะก่อนเบาหวานระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารจะมีค่าระหว่าง 100-125 มก. /ดล. เป็นภาวะที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและวิธีการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน
-การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน นอกจากจะช่วยค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและให้การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานแล้ว ยังช่วยให้สามารถตรวจพบผู้ที่เป็นเบาหวานโดยไม่มีอาการและให้การรักษาแต่เนิ่นๆ ได้ –การรักษาโรคเบาหวานโดยการควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ใกล้เคียงปกติจะสามารถชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานและลดอัตราการเสียชีวิตได้
-วิธีตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ได้แก่ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว และการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจากการเจาะเลือดจากเส้นเลือด หลังอดอาหาร 8-12 ชั่วโมง
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
- อายุ 35 ปีขึ้นไป
- ดัชนีมวลกายเกิน 25 กก./ตร.ม. หรือมีรอบเอวเกินมาตรฐาน และมีพ่อ แม่ พี่น้อง เป็นเบาหวาน
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่
- มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ หรือได้ยาลดไขมันในเลือดอยู่
- มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่น้ำหนักตัวแรกเกิดเกิน 4 กิโลกรัม
- เคยได้รับการตรวจพบว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน
- มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
- มีกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่
ผู้ที่เป็นความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานจะต้องทำอย่างไร
- ควบคุมอาหาร จำกัดอาหารจำพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล -ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
- ลดน้ำหนัก
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
- เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงทั่วร่างกายเสื่อมลง นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาว
- ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก ได้แก่ เบาหวานขึ้นตา ไตวาย ชาปลายเท้า ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันซึ่งทำให้เกิดแผลที่เท้าง่ายและมีโอกาสถูกตัดนิ้วเท้าหรือขา
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 3 อันดับแรก
1.ไตวาย ระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะส่งผลให้การทำางานของไตลดลงและเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
2.เบาหวานขึ้นตา หากคุมระดับน้ำตาลไม่ดีและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะทำให้มีโอกาสตาบอดในอนาคตได้
3.ภาวะแทรกซ้อนที่เท้า สำหรับอาการชาเท้า ผู้ป่วยจะรู้สึกแปลบๆที่เท้า จนกระทั่งสูญเสียความรู้สึก อาจเกิดแผลที่เท้าโดยที่ไม่รู้ตัว หรือแรกเริ่มอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ เนื่องจากเป็นอาการที่ไม่ก่อให้เกิดความทรมาน บางครั้งจึงทำให้มาตรวจช้าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะมาขณะที่มีแผลเรื้อรังแล้ว ซึ่งจะทำให้การรักษาแผลที่เท้ายากขึ้น
โรคเบาหวานกับเท้า
สุขภาพของเท้าขึ้นกับโรคเบาหวานโดยตรง แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของเท้าด้วย เช่น การดูแลรักษาความสะอาดเท้า รูปร่างของเท้า หรือเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอก เช่น รองเท้ากดทับ รองเท้ารัด หรือมีแรงกดผิดปกติที่เท้า ทำให้เท้าเป็นแผลได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแล้วความรู้สึกที่เท้าลดลง แผลจะเกิดโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเท้าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
อาการชาที่เท้าจากโรคเบาหวานเกิดจาก 2 สาเหตุ
- เกิดจากเส้นประสาทฝอยบริเวณเท้าสูญเสียหน้าที่ไป
- เส้นเลือดฝอยอุดตัน
ดูแลอย่างไร
- ในกลุ่มเสี่ยง ให้ตรวจเช็คเป็นประจำ
- ผู้ป่วยเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้เข้มงวด
- หมั่นดูแลรักษาความสะอาดเท้า
- รีบรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นแผลเล็ก ให้ถูกวิธี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.ศิริพงค์ เชี่ยวชาญธนกิจ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ และอาจารย์ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มช. และ พญ.ศุพรทิพย์ หินทอง อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: