หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
กีฬา
Featured
สุขภาพ
กฎหมายกฎระเบียบ
การบริจาค
เทคโนโลยี
ศาสนา
วารสาร
บทความเกี่ยวกับ 60 ปี มช.
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
เอกลักษณ์องค์กร (CI)
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
ลิงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
CMU First Year
CMU IT Life
โครงการแลกเปลี่ยน
คลังภาพคลังข่าว
ข้อมูลสาธารณะ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
ภาษา
ภาษาไทย
อังกฤษ
จีน
TH
|
EN
|
CN
หน้าแรก
ข่าว
ข่าว
อาจารย์พยาบาล มช. ผู้แทนประเทศไทยร่วมประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 (The 77th World Health Assembly: WHA77)
9 มิถุนายน 2567
คณะพยาบาลศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร.ภัทราภรณ์ ภทรสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ในการดูแลทางสุขภาพแห่งประเทศไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะกรรมการสภาการพยาบาล (วาระพ.ศ. 2565-2569) ผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 (The 77th World Health Assembly: WHA77) ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2567 ณ สำนักงานสหประชาชาติ (Palais Des Nations) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เวทีสุขภาพระดับโลกซึ่งมีผู้แทนจาก 194 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุมในการตัดสินใจด้านนโยบายสุขภาพ โดยมีวาระสำคัญที่เป็นประเด็นความท้าทายทางสุขภาพ รวมทั้งการบริหารจัดการขององค์การอนามัยโลก
.
สำหรับมติสมัชชาอนามัยโลกครั้งนี้ มีสาระสำคัญคือ เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของสังคมให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ด้วยหลัก 7 ข้อ ได้แก่
.
1.เสริมสร้างขีดความสามารถของภาครัฐในการออกแบบและจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมอย่างมีคุณภาพ
.
2.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค หลากหลายและครอบคลุม โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางและ/หรือคนชายขอบ
.
3.มุ่งมั่นให้การมีส่วนร่วมของสังคมส่งผลต่อการตัดสินใจด้านสุขภาพอย่างโปร่งใส ในทุกขั้นตอนของกระบวนการโยบายและในทุกระดับของระบบ
.
4.จัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมอย่างสม่ำเสมอ โปร่งใส และต่อเนื่อง โดยใช้กลไกต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายสาธารณะและตัวบทกฎหมาย
.
5.จัดสรรทรัพยากรของภาครัฐอย่างเพียงพอและยั่งยืน เพื่อสนับสนุนให้การมีส่วนร่วมของสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
.
6.เสริมสร้างขีดความสามารถของภาคประชาสังคม เพื่อให้สามารถเข้าร่วมการมีส่วนร่วมของสังคมได้
.
7.สนับสนุนการทำวิจัย โครงการ/โปรแกรมนำร่อง ตลอดจนการติดตามและประเมินผลที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสังคม
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: