The 1st International Symposium on Applied Plasma Science and Engineering for Agro and Bio-industry

31 มกราคม 2563

คณะวิทยาศาสตร์

        ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ Thai-Korean Research Collaboration Center (TKRCC) และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Symposium on Applied Plasma Science and Engineering for Agro and Bio-industry : CMU-SKKU Joint Workshop on Nano and Bio Materials and Devices ระหว่างวันที่ 31 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) โดยพิธีเปิดการประชุมได้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 โดยมี รศ.ดร.ธีรวรรณ บุญญวรรณ ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผศ.ดร.เกษมศักดิ์ อุทัยชนะ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) กล่าวรายงานและเปิดการประชุม

“การสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลี งานวิจัยวัสดุนาโน และวัสดุชีวภาพ (CMU-SKKU Joint Workshop on Nano and Bio Materials and Devices)” เป็นโครงการสัมมนาที่ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นร่วมกับศูนย์ Thai-Korean Research Collaboration Center (TKRCC) ภายใต้กิจกรรม The 1st International Symposium on Applied Plasma Science and Engineering for Agro and Bio-industry ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ งานวิจัยด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีพลาสมา และงานวิจัยด้านวัสดุนาโนขั้นสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วัสดุนาโน และการพัฒนาวัสดุนาโนสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ อาหาร และการเกษตร เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือทางการวิชาการและงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่รวมทั้งหน่วยงานวิจัยเครือข่าย และ มหาวิทยาลัย Sungkyunkwan ประเทศเกาหลี

โครงการนี้เป็นส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักศึกษา นักวิจัย และคณาจารย์จากประเทศไทยและประเทศเกาหลี เพื่อส่งเสริมการสร้างความคิดงานวิจัยใหม่ทางวัสดุนาโนและวัสดุชีวภาพ ทั้งความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ นอกจากนี้คณะผู้เข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการนี้ จะมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวัสดุศาสตร์แบบบูรณาการ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ การเกษตร และพลังงาน และการสร้างนวัตกรรมทางด้านวัสดุ โดยสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในสร้างและพัฒนาอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาในงานวิจัยแบบบูรณาการและสร้างนวัตกรรมทางวัสดุศาสตร์ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ของประเทศ เช่น การออกแบบโครงสร้างวัสดุนาโนขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ซึ่งจะส่งผลให้งานวิจัยทางด้านนี้ของประเทศมีความก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติต่อไป ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์
แกลลอรี่