เมื่อปี 2561 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (ERDI) คิดค้นงานวิจัยเพื่อเป็นต้นแบบในการช่วยลดหมอกควัน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ในการสร้างรถต้นแบบ Pyrolysis Mobile Unit ที่มีคุณสมบัติเป็นหน่วยรถเคลื่อนที่ผลิตถ่านชีวภาพ เป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเข้ากระบวนการเผา โดยไล่สารระเหย ควบคุมการให้อากาศ ระยะเวลาและอุณหภูมิให้คงที่ คงเหลือเฉพาะส่วนที่เป็นคาร์บอนหรือตัวถ่านคุณภาพดี ถือเป็นการพัฒนาชีวมวลเพื่อมาทดแทนถ่านหิน ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนไดออกไซด์ จากการศึกษาวิจัยดังกล่าว นำสู่ห้องปฏิบัติการจริง ในพื้นที่บ้านนาฮ่อง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีชาวบ้านนำซังข้าวโพดมาแปรรูปเป็นถ่านอัดแท่ง ถือเป็นการกำจัดซังข้าวโพดถูกวิธี ไม่ได้เผาทิ้งแต่กลับมีคุณค่าขึ้นมา อีกทั้งเป็นการนำวิธีการรีไซเคิลมาประยุกต์ใช้ ทำให้สิ่งที่ไร้ค่ากลับมีมูลค่า และยังประโยชน์แก่ชาวบ้านในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ใช้เป็นถ่านหุงต้ม เป็นปุ๋ย หรือขายเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งทางสถาบันยินดีให้ข้อมูลและคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีรวมถึงสาธิตวิธีการแก่ผู้สนใจ เกษตรกร หรือองค์กรเอกชนที่ต้องการนำไปต่อยอดหรือลงทุนทางธุรกิจต่อไป
งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยที่มุ่งหวัง ที่จะช่วยลดปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในภาคเหนือของทุกๆ ปี พร้อมๆ กับได้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน สร้างมูลค่าของเสียเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด ถือเป็นการผลักดันการนำเทคโนโลยีมาพัฒนา ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยในการค้นคว้านวัตกรรมต้นแบบเพื่อชุมชนและร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
โดยปัจจุบันรถคันนี้ ได้ใช้งาน ณ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#pm2.5 #ฝุ่นจิ๋ว #ปัญหาหมอกควัน #ไพโรไรซิส
#ERDICMU
#มุ่งสู่การเป็นสถาบันชั้นนำด้านพลังงานสะอาดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
#CarbonNeutral
#ป้องกันหมอกควันกับมช. #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #CMU #ห้องปลอดฝุ่น