CAMT จับมือโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย พัฒนาผู้เรียนภายใต้โครงการ M-JEDI
11 มิถุนายน 2565
วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โดยภราดา ดร. ชำนาญเหล่ารักผล ผู้อำนวยการ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ปีการศึกษา 2565 ภายใต้โครงการ M-JEDI (Montfort-Junior Engineering and Digital Innovation) ซึ่งเป็นหลักสูตรพิเศษเฉพาะที่ออกแบบร่วมกันระหว่าง CAMT CMU และ หลักสูตร EP ของโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เพื่อพัฒนานักเรียนในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เข้าร่วม ณ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย กล่าวว่าทางโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม ให้แก่นักเรียนในปีการศึกษา 2565 จึงเล็งเห็นความสำคัญของกระบวนวิชาด้าน Coding, IOT, AI และ Data Science ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนการสอนของวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี หรือ CAMT Digital School ที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความคิดสร้างสรรค์สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ โดยวิทยาลัยฯ มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากร ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการสอนระดับมหาวิทยาลัย ตลอดจนความพร้อมของห้องเรียนห้องปฏิบัติการรวมถึงอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย โดยที่ผ่านมาทางวิทยาลัยฯ และโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยได้มีความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนร่วมกันไม่ว่าจะเป็นโครงการ Gifted School ที่โรงเรียนให้การสนับสนุนวิทยาลัยฯ มาอย่างต่อเนื่องหรือโครงการอบรมพัฒนาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีให้แก่บุคลากรในโรงเรียน
ซึ่งโครงการนี้ทำการจัดการเรียนการสอนในทุกวันเสาร์ ณ อาคารศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ ตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 1 / 2565 เป็น ต้นไป เน้นการลงมือปฏิบัติจริง การสร้าง Innovative Project – Coding Project เสริมสร้าง Soft Skill – Up Skill ทางด้าน การสร้างโครงงานนวัตกรรมทางดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อม และ พัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ในโลกแห่งอนาคต (Future Learning Competency)