จากจุดเริ่มภูมิปัญญามากกว่า 100 ปีของบรรพชนชาวฝางสู่นวัตกรรมสีเขียวในการวิเคราะห์ทางเคมี สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เกิดตัวอย่างการใช้จริง รวมถึงการใช้ในการศึกษาแนวใหม่ -ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมีที่บ้านผ่านระบบออนไลน์
ศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (I-ANALY-S-T, CMU) โดย ศาสตราจารย์ ดร. เกตุ กรุดพันธ์ เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ ได้ริเริ่มพัฒนาการวิเคราะห์ทางเคมีโดยใช้รีเอเจนต์จากธรรมชาติ (Natural reagent)โดยบุกเบิกการสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมามากกว่า 15 ปี อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ มีผลงานที่เกี่ยวกับรีเอเจนต์จากธรรมชาติเผยแพร่ในวารสารนานาชาติชั้นนำทางเคมีวิเคราะห์ มากกว่า 30 เรื่อง จากประสบการณ์และผลงานวิจัยอันเป็นที่ยอมรับนั้น ทำให้ ศาสตราจารย์ ดร. เกตุ กรุดพันธ์ ได้รับเกียรติให้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว. ในอดีต) ให้ดำเนินโครงการ “นวัตกรรมสีเขียวในการวิเคราะห์ทางเคมีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” โดยมีวิสัยทัศน์และเป้าหมาย : “Local issues- Global impact- Sustainable world” มุ่งเน้นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดสมัยใหม่( Modern green chemical analysis ) รวมถึงการสร้างและขยายเครือข่ายเพื่อการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นการตอบสนองSDGs ในหลายมิติ
จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมากกว่า 100 ปี ของบรรพชนชาวฝาง นำมาสู่การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ในโครงการ “นวัตกรรมสีเขียวในการวิเคราะห์ทางเคมีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น” ร่วมกับศูนย์วิจัยทางนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ (I-ANALY-S-T) และคลัสเตอร์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ (B.BES-CMU) โดยมี ดร.กนกวรรณ คิวฝอ เข้าร่วมพัฒนาต้นแบบรีเอเจนต์ธรรมชาติแบบพร้อมใช้ขึ้นในปี พ.ศ. 2561 และได้มีการขยายเครือข่ายการใช้งานเริ่มต้นไปยังมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ 8 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร) University of Malaya ประเทศมาเลเซีย และ Hamburg University of Applied Science สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งได้มีการปรับใช้รีเอเจนต์ธรรมชาติแบบพร้อมใช้งานที่พัฒนาขึ้นกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2562 .ในกระบวนวิชา (463571) : เภสัชควบคุมคุณภาพ 3 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก. เฉลิมพงษ์ แสนจุ้ม เป็นอาจารย์ผู้สอน และกระบวนวิชาปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ 1 (CHM363) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มนภัทร วงษ์บุตร เป็นอาจารย์ผู้สอน และต่อมาได้มีต่อยอดและพัฒนาเป็นการทำการทดลองที่บ้าน (Lab at Home) โดยความร่วมมือกับคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เริ่มใช้ในกระบวนวิชา CHM 267 และการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบ E-Workshop โดยความร่วมมือกับคณะวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งถือเป็นการริเริ่มการใช้ Modern green chemical analysis กับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในยุควิถีใหม่ (New normal education )
ผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้กับกระบวนการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นจริง ได้รับผลตอบรับอย่างดีจากทั้งผู้เรียนและอาจารย์ผู้สอนโดยเพิ่มความสามารถในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ใน New normal Education ได้เป็นอย่างมาก ขณะนี้ได้ขยายไปยังมหาวิทยาลัย และสถานศึกษาต่างๆ มากขึ้น โดยพยายามปรับสมรรถนะขององค์ความรู้ให้เข้ากับบริบทของแหล่งเรียนรู้แต่ละแห่ง
บทความที่เกี่ยวข้อง
1. https://web.facebook.com/1576195842623063/photos/a.2905064859736148/2905063769736257/
2. http://www.sci.nu.ac.th/chemistrys/news-activities/detail/?t=activities&id=158&fbclid=IwAR2Wqphw_7a251I_heb7x8trKNcLv4_l36g9WoJkDCQEse94cPB1zGxdjfQ