CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
เข้าตากรรมการ! นักศึกษาทีม PALALAMP เสนอเครื่องสร้างปุ๋ยจากอากาศ คว้ารองแชมป์ Startup Thailand League 2019 หมวดการเกษตรและอาหาร
16 สิงหาคม 2562
คณะวิศวกรรมศาสตร์
นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายพิสิษฐ์ แก้วคำ และนายบุญประทาน หัตถผะสุ พร้อมด้วยนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ นางสาวณัฐณิชา เมธาฤกษ์ รวมทีม PALALAMP เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน Startup Thailand League 2019 ระดับประเทศ Sector: เกษตรและอาหาร (AgriTech/ Food Startup) โดยส่งผลงานเครื่องสร้างปุ๋ยจากอากาศด้วยเทคโนโลยีพลาสมา ซึ่งอาศัยหลักการที่พัฒนาจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่าทางธรรมชาติ กล่าวคือ เมื่อเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า พลังงานที่ส่งออกมาในรูปของพลังงานไฟฟ้าไปกระตุ้นก๊าซในอากาศ อันมีไนโตรเจนจำนวนมากจนแตกตัวเป็นไอออนสร้างอนุมูลไนเตรทลงสู่พื้นดิน ด้วยหลักการดังกล่าว จึงทำให้เกิดอนุมูลไนเตรท รวมถึงไนไตรท์จากอากาศ จากนั้นนำมาตรึงลงในน้ำ โดยน้ำที่ได้สามารถนำไปปลูกพืชได้โดยตรง นอกจากนี้ยังพัฒนาให้ก๊าซในอากาศ ซึ่งมีอ๊อกซิเจนเป็นองค์ประกอบแตกตัวสร้างอนุมูลโอโซนที่มีประสิทธิภาพสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในระบบน้ำ เพื่อช่วยลดโอกาศการเกิดโรคของพืช โดยผลงานข้างต้น มีรองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
การแข่งขันข้างต้น เป็นการประกวดโมเดลธุรกิจสตาร์ทอัพ (startup business model) สำหรับนักศึกษาทุกระดับโดยได้รับสนับสนุนงบประมาณโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยแบ่งออกเป็น 9 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ด้านเกษตรและอาหาร (AgriTech/Food Startup) การแพทย์และสาธารณสุข (HealthTech) การเงินและการธนาคาร (FinTech) อุตสาหกรรม (IndustryTech) การท่องเที่ยว (TravelTech) ไลฟ์สไตล์ (LifeStyle) พาณิชยกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ภาครัฐ/การศึกษา (GovTech/EdTech) และอสังหาริมทรัพย์ (PropertyTech) ให้ผู้แข่งขันนำเสนอโมเดลธุรกิจสตาร์ทอัพต่อคณะกรรมการของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แบ่งเป็นช่วงเสนอผลงาน 7 นาที และตอบคำถาม 5 นาที ในงาน Startup Thailand ที่จัดในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ตลอดช่วง เดือนเมษายน – พฤษภาคม 2562 โดยทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาทเพื่อทำต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้เป็นรูปร่าง จากนั้น ซึ่งทีม PALALAMP เข้าร่วมแข่งขัน ณ สนามภาคเหนือที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ sector เกษตรและอาหาร (AgriTech/Food Startup) และได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ พร้อมแข่งขันต่อระดับประเทศ เมื่อวันที่ 23-27 กรกฏาคม 2562 ณ True Digital Park กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้การแข่งขั้นระดับประเทศถือเป็นการคัดเลือกผลงานที่พัฒนาต้นแบบแล้วมานำเสนอแก่บุคคลทั่วไป ทำให้มีโอกาสสูงที่นักลงทุนสนใจโปรเจคของทีม นำไปสู่การสนับสนุนให้ทำธุรกิจจริงต่อไป
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
เทคโนโลยี
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: