CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มช. รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย (บูรณาการทั่วไป) จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2562
9 เมษายน 2564
คณะพยาบาลศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ โชติบาง หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย ประเภทบูรณาการทั่วไป จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2562 โดยพิธีมอบโล่รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2562 จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2564 ณ ห้องปิ่นเกล้า ชั้น 3 โรงแรมเอสดี อเวนิว ถนนบรมราชชนนี กรุงเทพฯ
รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ โชติบาง สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (การพยาบาลและผดุงครรภ์) มหาวิทยาลัยพายัพ พ.ศ. 2536 พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลแม่และเด็ก) มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2540 และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พยาบาลศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2552 เป็นอาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน มีความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่นได้หนุนเสริมการทำงานขับเคลื่อนระบบและกลไกทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยด้วยการขับเคลื่อนระบบและกลไกจังหวัดตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัย ได้แก่ 1) การจัดการให้เด็กเข้าถึงระบบบริการทางด้านสาธารณสุขและการศึกษา 2) การพัฒนาคุณภาพระบบบริการที่พัฒนาเด็กปฐมวัย 3) การพัฒนาระบบและกลไกจังหวัดในการจัดการติดตามและประเมินผล 4) การพัฒนาศักยภาพครอบครัว 5) การพัฒนาระบบข้อมูลเด็กปฐมวัย 6) การศึกษาวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย และ 7) การผลักดันและพัฒนาข้อเสนอนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยมีแผนการดำเนินงานทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว
..
การดำเนินงานที่ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยต้องอาศัยการบูรณการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดเนื่องจากการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายมิติทั้งด้านสุขภาพ ด้านการเรียนรู้ ด้านการศึกษา ด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง ดังนั้นจึงนับเป็นความท้าทายอย่างมากในการขับเคลื่อนงานไปในทิศทางเดียวกันทั้งจังหวัดด้วยการทำงานแบบมีส่วนร่วม “ร่วมคิด ร่วมออกแบบ ร่วมพัฒนาและร่วมรับผลที่เกิดขึ้น” โดยได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการบริหารจัดการ กระบวนการทำงาน และทำงานร่วมกับแกนนำในพื้นที่เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยตนเองโดยทีมวิชาการจะต้องกำกับติดตามกระบวนการจนกว่าพื้นที่จะสามารถดำเนินการได้สำเร็จ ด้วยกระบวนการที่ชัดเจนสอดคล้องกับกลยุทธ์และนโยบายของประเทศด้วยคณะทำงานที่เป็นคนในพื้นที่นั้นๆ ทั้งระดับตำบล อำเภอและจังหวัด สามารถบูรณาการการทำงานขับเคลื่อนและเชื่อมโยงตามแผนยุทธศาสตร์ที่มาจากการร่วมคิดของทุกภาคส่วนที่สำคัญคือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและภาควิชาการ มาร่วมมือกันดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการ Benchmarking
..
จากการดำเนินงานของโครงการโดยใช้การพัฒนาระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับท้องถิ่นทั้ง 5 ระบบนี้ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นดังนี้
1. พัฒนาการเด็กโดยรวมที่เหมาะสมกับวัยทุกด้าน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84 เป็นร้อยละ 99.72
2. เด็กที่มีน้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.59 เป็นร้อยละ 77.47 ร้อยละ 78.62 และร้อยละ 83.12 ตามลำดับ
3. เด็กที่มีฟันผุลดลงจากร้อยละ 39.90 เป็นร้อยละ 37.88 และร้อยละ 37.15 ตามลำดับ
4. จำนวนการเกิดโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลงจากร้อยละ 1.14 เป็นร้อยละ 0.00
5. ระดับความพึงพอใจของบุคลากร/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 82.73 เป็นร้อยละ 86.99 และร้อยละ 94.10 ตามลำดับ
..
เกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สามารถแก้ปัญหาและร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมอย่างยั่งยืนและนำความรู้ที่ได้มาสอดแทรกเข้าไปในแผนการสอนนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกในหลักสูตรปกติและนานาชาติของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
..
จากผลงานที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ โชติบาง เป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ความสามารถ สติปัญญา ในการการบูรณาการการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ มีส่วนในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาเด็กทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นบุคคลที่มีศักยภาพในอนาคต ทั้งยังเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่การงานที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลทั่วไป จึงสมควรได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2562 ประเภทบูรณาการทั่วไป
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: