CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
คณะศึกษาศาสตร์ มช. มุ่งผลักดันโรงเรียนเอกชนนำร่องสู่พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
20 สิงหาคม 2563
คณะศึกษาศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งขับเคลื่อนโรงเรียนเอกชนนำร่อง 11 แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่สู่การเป็นต้นแบบโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา และเพื่อพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการสู่การเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะครูในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น
ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณาจารย์ ได้รับมอบหมายจากศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ให้ลงพื้นที่โรงเรียนเอกชน 11 แห่งเพื่อดำเนินโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 มี???สถานศึกษาโรงเรียนเอกชนนำร่องทั้ง 11 แห่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 1) โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย 2) โรงเรียนดาราวิทยาลัย 3) โรงเรียนสวนเด็กสันกำแพง 4) โรงเรียนอนุบาลร่มแก้ว 5) โรงเรียนเอื้อ????วิทยา 6) โรงเรียนพิมานเด็กเชียงใหม่ 7) โรงเรียนสหวิทย์พิมานเชียงใหม่ 8) โรงเรียนบ้านปลาดาว 9) โรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน 10) โรงเรียนรัตนาเอื้อวิทยา และ11) โรงเรียนอนุบาลสุมาลี ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว
ในการนี้ทางคณะผู้ดำเนินโครงการได้นำแนวคิด การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community- Based Learning) โดยใช้คุณลักษณะของผู้เรียนมาบูรณาการร่วมกับปรากฎการณ์ทางสังคม ภาพอนาคต และอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ในการพัฒนา ซึ่งคณะผู้ดำเนินโครงการได้ร่วมมือกับโรงเรียนในโครงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรครู รวมทั้งเข้าไปเสริมพลัง (Empowerment) ให้โรงเรียนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งร่วมเป็นโค้ชและพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งถอดบทเรียนโดยการสะท้อนคิด (Reflection) ด้วยการจุดประกายความคิดเกี่ยวกับบทบาทของโรงเรียน เพื่อให้ทางโรงเรียนสามารถนำแนวคิดไปวางแผนเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของตนเองได้ในอนาคตอย่างยั่งยืน
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข กล่าวว่าตั้งแต่ปี 2557 จังหวัดเชียงใหม่ได้มีความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาโดยคนเชียงใหม่และยึดพื้นที่เชียงใหม่เป็นตัวตั้งเพื่อประโยชน์สูงสุดของคนเชียงใหม่ ในรูปแบบการรวมกลุ่ม “ภาคีเชียงใหม่เพื่อการปฏิรูปการศึกษา” โดยทำให้รัฐบาลเห็นว่าระบบการศึกษาในทุกวันนี้ไม่สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่ เพราะแต่ละพื้นที่มีบริบทและความต้องการที่แตกต่างกันไป เช่น คนในชนบทไม่ได้ต้องการให้ลูกหลานเรียนเก่งมาก แต่ขอเพียงแค่มีทักษะชีวิตที่จะสามารถทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เพียงพอแล้ว ส่งผลให้เกิดข้อเรียกร้องข้อหนึ่งตามมาก็คือ เรื่องการขออิสระในการกระจายอํานาจการบริหารและจัดการศึกษา นั่นคือที่มาของ “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” ที่ถูกนำไปใช้ใน 8 จังหวัดนำร่องคือ จังหวัดเชียงใหม่ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ ระยอง สตูล ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส เพื่อก้าวสู่เป้าหมายที่ท้าทายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อไป
ทั้งนี้ความคาดหวังของโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาคือ การพัฒนาสมรรถนะให้โรงเรียนมีอิสระและเด็กมีความรู้และความสามารถที่ไม่ต่างจากเดิม มีระบบการวัดและประเมินผลที่สอดรับกับหลักสูตร และมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยการพัฒนานั้นไม่ใช่การพัฒนาเนื้อหาที่อิงกับมาตรฐานและตัวชี้วัดด้านการศึกษาจากส่วนกลาง แต่เป็นการพัฒนาครูให้มีอิสระในการออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ที่เหมาะกับบริบทชุมชนท้องถิ่นและผู้เรียนของตนเอง เพื่อเป้าหมายปลายทางของโครงการคือ การพัฒนาและยกระดับคุณภาพวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชน ซึ่ง “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จะเป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตของคน โดยประโยชน์ของโครงการคือการผลิตพลเมืองที่มีวิธีการคิดที่เป็นเลิศ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ของเขาได้ มีการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้อย่างเต็มระบบ และที่สำคัญอยู่บนพื้นที่ได้อย่างมีความสุขและเกิดความยั่งยืนในที่สุด”รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข กล่าวเสริม
Featured
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: