CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
24 มีนาคม วันวัณโรคโลก
25 มีนาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
วันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับวันวัณโรคโลก สหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ (IUATLD : International Union Against Tuberculosis and Lung Disease) ได้กำหนดให้วันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันวัณโรคโลก (World TB Day) เพื่อให้ร่วมมือกันควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนเล็งเห็นและตระหนักถึงอันตรายจากวัณโรค
วัณโรค เป็นโรคติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส” (Mycobacterium Tuberculosis) ซึ่งเชื้อนี้สามารถแพร่กระจายได้ในทางอากาศ การติดเชื้อส่วนมากจะเกิดจากระบบทางเดินหายใจ ผ่านการไอ จาม หัวเราะ หรือแม้แต่การร้องเพลง โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ติดเชื้อวัณโรค มักไม่แสดงอาการในช่วงแรกๆ ของการติดเชื้อ แต่เมื่อเชื้อมีการแบ่งตัวในร่างกายเกิดขึ้น ก็จะมีอาการแสดงให้ได้เห็น
กรณีติดเชื้อวัณโรคที่ปอด อาการที่สามารถสังเกตได้ คือ
1. ไอเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ ขึ้นไป
2. เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด
3. ไอมีเสมหะปนเลือด
4. น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ร่างกายอ่อนเพลีย
5. มีไข้ต่ำ เหงื่อออกง่าย
หากติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ จะมีอาการไปตามอวัยวะ เช่น ถ่ายเหลว (หากติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร) ต่อมน้ำเหลืองโต (หากติดเชื้อในต่อมน้ำเหลือง)
คำแนะนำในการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรควัณโรค
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค
2. แยกสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่สัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยวัณโรค
3. ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ให้มีการระบายอากาศที่ดี มีแสงแดดส่องถึง
4. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไปในสถานที่สาธารณะ
5. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่แออัด
ข้อมูลโดย : รศ.พญ.ภัทราพร ตาเจริญเมือง อาจารย์ประจำหน่วยวิชาโรคระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #วัณโรคโลก
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: