CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
รู้จัก กัญชาเพื่อการแพทย์ เทรนด์ที่ได้รับความสนใจทั่วโลก
5 พฤษภาคม 2565
คณะแพทยศาสตร์
กัญชาเป็นพืชที่ได้รับความสนใจทั่วโลก โดยหลักฐานจากชาวกรีกและชาวโรมัน ใช้รากกัญชาเป็นยาลดความเจ็บปวด ชาวไซเธียนส์ ในเอเชียกลาง เป็นกลุ่มแรกที่เริ่มนำกัญชามาเสพเพื่อสันทนาการ ความบันเทิง นอกจากนี้การแพทย์อายุรเวทของอินเดีย ใช้ใบกัญชาแห้งเป็นเครื่องยาแห้ง หรือในศาสตร์การแพทย์จีนมีการบันทึกการใช้ “กัญชา” ในหนังสือกัญชาหลายเล่มด้วยกัน
หลังจากนั้นเมื่อมีการเริ่มใช้อย่างแพร่หลาย ยาวนาน จึงได้มีการควบคุมกัญชาเกิดขึ้น ถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติด แต่เมื่อมีหลักฐานที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งมีการเห็นประโยชน์ของกัญชา จึงมีการนำกัญชามาผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยเองเช่นเดียวกัน โดยจะเริ่มนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น
ทำความรู้จักต้นกัญชา มี 2 ประเภท คือตัวผู้และตัวเมีย ซี่งตำราสรรพคุณยาไทยจะระบุว่ากัญชาทุกส่วน มีรสเมาเบื่อ คือรสเมาเบื่อของพืช ก็เช่นเดียวกับรสขม แต่มีความเป็นพิษที่สูง ยิ่งถ้าเป็นพืชป่า ถ้ากินไม่ถูกอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เมื่อทานจะมีอาการเมา หรือมึนจากการใช้ได้ แต่ด้วยฤทธิ์ของยาจะทานเป็นอาหารไม่ได้ จะต้องใช้อย่างถูกต้อง
ต้นกัญชาแต่ละส่วนจะมีสรรพคุณแตกต่างกัน โดยรวมจะนำกัญชาไม่ว่าจะเป็น ใบ ก้าน ดอก ราก ฯลฯ มาสกัดเป็นยา ซึ่งส่วนของกัญชาที่นำมาใช้ ในการผลิตยา โดยส่วนใหญ่จะใช้ช่อดอกกัญชา ซึ่งอาจจะเคยได้ยินในเรื่องของน้ำมันกัญชามาบ้างแล้ว ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน จะนำช่อดอกกัญชานำมาสกัดโดยจะมีวิธีการสกัดต่างๆ เพื่อให้ได้สารสกัดบริสุทธิ์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ต่อไป
โครงสร้างของตำรับยาไทย
ตำรับยาของแพทย์แผนไทย จะนำทุกส่วนของกัญชามาเข้าตำรับ โดยมีตัวยาอื่นเข้ามาผสมกับกัญชาด้วย ออกมาเป็น
ตำรับหนึ่งเพื่อใช้รักษาโรคต่าง ๆ
- ตัวยาหลัก เป็นสมุนไพรที่ในตำรับที่ไปช่วยรักษาโรคหลัก เป็นตัวยาที่จะใช้รักษาโรคนั้น
- ตัวยารอง เป็นตัวยาที่มุ่งหมายเพื่อใช้รักษาโรคแทรกตามมา หรือในกรณีที่มีอาการของโรคหลายโรคด้วยกัน จะถูกจัดไว้รักษาอาการรองลงมา ตัวยารองจะต้องมีสรรพคุณไม่ขัดกันกับตัวยาหลัก หรือทำลายฤทธิ์ตัวยาหลัก
- ตัวยาคุม หรือยาประกอบ เป็นตัวยาที่คุมกำลัง หรือคุมฤทธิ์ของตัวยาตัวอื่น ให้เป็นไปด้วยดีหรือ ป้องกันโรคตาม หรือเสริมในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ยามีสรรพคุณสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสรรพคุณยาต้องไม่ขัดกัน ตัวยาคุมยังเป็นตัวที่คุม และส่งเสริมระบบ อวัยวะ การทำงานของร่างกาย
- ตัวยาชูรส ชูกลิ่น และแต่งสี คือ ตัวยาที่นำมาปรุงแต่งเพื่อให้ยาขนานนั้นๆ น่ารับประทาน เพื่อให้ง่ายแก่การใช้ยา และสรรพคุณต้องไม่ขัดกับยาตัวอื่นๆ
ตำรับกัญชาที่ใช้อย่างถูกต้องโดยมีแพทย์จ่าย และสถานที่จำหน่ายจะต้องได้รับใบอนุญาตในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5
โดยยาตำรับกัญชาที่นำมาใช้ในคลินิก TTCM Cannabis จำหน่ายโดยแพทย์แผนไทยเท่านั้น
-น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
-ยาศุขไสยาศน์ (สำหรับผู้มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร)
-ยาแก้นอนไม่หลับ ยาแก้ไข้ผอมเหลือง
-ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง
-ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย
-ยาแก้ลมแก้เส้น
-ยาทำลายพระสุเมรุ
-ยาไฟอาวุธ
-ยาแก้สัณฑฆาต กร่อนแห้ง
-ยาไพสาลี
-ยาริดสีดวงทวารหนัก และโรคผิวหนัง
กลุ่มอาการที่ทางคลินิกกัญชาแพทย์แผนไทย รับการรักษา
-นอนไม่หลับ (นอนหลับยาก หรือหลับไม่สนิท)
-เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
-ไมเกรน
-กล้ามเนื้อสั่น ทรงตัวไม่ดี พาร์กินสัน
-ปวดจากมะเร็ง
-ปวดจากปลายประสาทอักเสบ
-ปวดจากโรคกล้ามเนื้อเรื้อรัง
-อาการปวดอื่นๆ ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน
-กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต อัมพาตใบหน้า
-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น มือเท้าชาเรื้อรัง
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
-มึน เวียนศีรษะ
-วิตกกังวล
-สับสน
-หัวใจเต้นช้า
-อาการทางจิตเวช
-ความดันโลหิตผิดปกติ
-ประสาทหลอน, กระวนกระวาย, เสียสมดุลการทรงตัว
เกณฑ์ไม่รับผู้ป่วยเข้ารักษาในคลินิก
-อายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีผู้ปกครองเซ็นใบยินยอมการรักษา
-กำลังตั้งครรภ์ วางแผนตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
-มีประวัติแพ้กัญชาหรือส่วนประกอบอื่นในตำรับ
-ป่วยโรคเรื้อรังขั้นรุนแรงที่ยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น โรคหัวใจที่ยังกำเริบ
-ผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับและไตผิดปกติ
-ผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคติดเชื้อในระยะแพร่กระจาย
-ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเวช
-ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดรวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา จากคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย (TTCM Cannabis) ต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ประจำโรคของผู้ป่วยก่อน เพื่อพิจารณาประกอบการรักษา โดยขั้นตอนการรับบริการนั้นทางแพทย์จะต้องได้รับการแจ้งข้อมูลอาการเบื้องต้น และทำการนัดหมาย มีการคัดกรองโดยพยาบาลวิชาชีพ ตรวจโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเภสัชกรตรวจสอบรายการยา ให้คำแนะนำการใช้ยา หลังจากนั้นจะมีการแอดไลน์เพื่อติดตามอาการหรือสอบถามเพิ่มเติม และติดตามอาการทางโทรศัพท์ในวันที่ 3 หลังเริ่มใช้ยา
ผู้สนใจ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเบื้องต้นได้ที่ 053-934897-9, Line official: @TTCMCANNABIS
ที่มา : สุขภาพดีกับหมอสวนดอก ตอน คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย TTCM Cannabis
Facebook : https://cmu.to/XTojs
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: แพทย์แผนไทยประยุกต์ (พท.ป.) ชยน์พรรณ์ แสงเพชร และแพทย์แผนไทยประยุกต์ (พท.ป.) ณพรรษกรณ์ คงภาษี แพทย์แผนไทยประยุกต์ ประจำศูนย์การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ผสมผสาน ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#กัญชา
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
×
RoomID:
Room Name:
Description: