หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
กีฬา
Featured
สุขภาพ
กฎหมายกฎระเบียบ
การบริจาค
เทคโนโลยี
ศาสนา
วารสาร
บทความเกี่ยวกับ 60 ปี มช.
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
เอกลักษณ์องค์กร (CI)
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
ลิงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
CMU First Year
CMU IT Life
โครงการแลกเปลี่ยน
ทุนการศึกษา
คลังภาพคลังข่าว
ข้อมูลสาธารณะ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
ภาษา
ภาษาไทย
อังกฤษ
จีน
TH
|
EN
|
CN
หน้าแรก
ข่าว
ข่าว
ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Approach to Ambiguous Genitalia in a Native Calf: A Case Report ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ International Journal of Agriculture and Biosciences (Published: 26 May 2025)
14 กรกฎาคม 2568
คณะสัตวแพทยศาสตร์
หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Approach to Ambiguous Genitalia in a Native Calf: A Case Report ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ International Journal of Agriculture and Biosciences (Published: 26 May 2025) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล SJR Quartile 1 และ Scopus Quartile 2
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.ijagbio.com/in-press-articles/
งานวิจัยเรื่อง Approach to Ambiguous Genitalia in a Native Calf: A Case Report เป็นกรณีศึกษาปัญหาอวัยวะเพศกำกวมในลูกโค หมายถึง ลักษณะของอวัยวะเพศที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมียอย่างชัดเจน ซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติด้านโครงสร้างหรือการอุดกั้นในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเป็นกรณีศึกษาลูกโคพื้นเมืองอายุ 8 เดือน น้ำหนัก 80 กิโลกรัม เข้ารับการรักษาด้วยอาการปัสสาวะไม่ออก (anuria) และท้องบวม ณ โรงพยาบาลสัตว์ใหญ่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากการตรวจร่างกายพบว่า ไม่มีอวัยวะเพศภายนอก มีภาวะท้องโต และขาดน้ำประมาณ 8% โดยที่สัญญาณชีพยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีอาการบวมน้ำของเนื้อเยื่ออ่อนตั้งแต่บริเวณเหนืออวัยวะเพศจนถึงบริเวณกระดูกอกส่วนล่าง (xiphoid) และพบว่ามีของเหลวซึมออกจากบริเวณที่บวม ตรวจพบเพียงรูเปิดหนึ่งรูบริเวณช่องท้องส่วนล่าง ภาพถ่ายรังสีแสดงให้เห็นว่ามีของเหลวสะสมในช่องท้อง จึงได้ทำการตรวจน้ำปัสสาวะขณะปัสสาวะออก (voiding urinalysis) และตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อหาตำแหน่งของกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นได้ทำการผ่าตัดเปิดทางระบายปัสสาวะผ่านทางฝีเย็บ (perineal urethrostomy) และใส่สายสวนปัสสาวะ (Foley catheter) เพื่อขยายรูเปิดของท่อปัสสาวะก่อนที่จะปิดกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นจึงใส่ท่อระบายน้ำ (Penrose drain) เพื่อช่วยระบายของเหลวที่อยู่ใต้ผิวหนัง การดูแลหลังผ่าตัดประกอบด้วยการให้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 7 วัน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นเวลา 5 วัน และตัดไหมหลังจากผ่านไป 14 วัน ผลการศึกษาพบว่า ลูกโคป่วยมีการฟื้นตัวดี สามารถกินอาหารและปัสสาวะได้ตามปกติผ่านทางรูเปิดใหม่ที่สร้างขึ้น
งานวิจัยและนวัตกรรม
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: