มช. เปิดรับสมัครครูรัก(ษ์) ถิ่น รุ่นที่ 4 เรียนฟรี จบแล้วบรรจุเลย สร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาบ้านเกิด

8 พฤศจิกายน 2565

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

       มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะศึกษาศาสตร์ เปิดรับสมัครนักศึกษาโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น สาขาวิชาประถมศึกษา รุ่นที่ 4 ในสาขาวิชาประถมศึกษา ภายใต้โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ผ่านระบบออนไลน์และศูนย์รับสมัครนอกที่ตั้ง ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง 14 พฤศจิกายน 2565 เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เป็นครูรุ่นใหม่ เป็นความหวังของหมู่บ้าน เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน ลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

       ผู้ที่ได้คัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาผู้รับทุน เฉลี่ยทุนละ 160,000 บาท/ทุน/ปี ประกอบด้วย ค่าเรียน ค่าหอพัก พร้อมสนับสนุนค่าครองชีพและอุปกรณ์การเรียนให้ทุกเดือน เมื่อจบการศึกษาจะได้บรรจุรับราชการครูในภูมิลำเนาของตนเอง

  

       สำหรับโครการครูรัก(ษ์)ถิ่น ประจำปีการศึกษา 2566 นั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดรับทั้งหมด 20 ตำบล ในพื้นที่2จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอแม่แจ่ม: ต.ปางหินฝน ต.แม่ศึก อำเภออมก๋อย: ต.นาเกียน อำเภอสะเมิง: ต.สะเมิงเหนือ ต.ยั้งเมิน และอำเภอกัลยาณิวัฒนา: ต.แม่แดด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ อำเภอขุนยวม: ต.ขนยวม ต.แม่อคอ ต.เมืองปอน ต.แม่เงา อำเภอปาย: ต.เวียงใต้ ต.โป่งสา ต.แม่นาเติง อำเภอแม่สะเรียง: ต.แม่คง ต.ป่าแป้ ต.เสาหิน และอำเภอปางมะผ้า: ต.สบป่อง ต.นาปูป้อม ต.ปางมะผ้า ต.ถ้ำลอด

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • นักเรียนมีสัญชาติไทย
  • นักเรียนกำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2565 และมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.50
  • นักเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลที่เปิดรับสมัครของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20 ตำบล โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปีจนถึงวันสมัคร
  • บิดา/มารดา/ผู้ปกครองของนึกเรียน มีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลที่เปิดรับสมัครของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20 ตำบล โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปีจนถึงวันสมัคร
  • รายได้เฉลี่ยในครัวเรือนไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน และเป็นไปตามเกณฑ์นักเรียนยากจนตามประกาศ กสศ.

       สามารถติดตามความเคลื่อนไหวจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทาง https://www.facebook.com/kruraktin.cmu/ หรือทางเว็ปไซต์ https://kruraktin.edu.cmu.ac.th/
ในพื้นที่ห่างไกลจากความเจริญ ความยากที่จะเข้าถึงการศึกษาของเด็กในพื้นที่เหล่านั้น สะท้อนว่าปัญหาความยากจนยังคงเป็นอุปสรรคอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เด็กไทยหลายแสนคนต้องหลุดออกไปจากระบบการศึกษา และสูญเสียโอกาสที่ดีในอนาคตไป อีกทั้ง ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนในพื้นที่ห่างไกล การพลัดถิ่นของครูผู้สอนที่มักจะมีการโยกย้ายตลอดเวลาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในมหาวิทยาลัยในโคงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ร่วมสร้างโอกาส สร้างความหวังใหม่ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง พร้อมวางรากฐานทางกาศึกษา เพื่ออนาคตและการพัฒนาสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง

แกลลอรี่