ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Occurrence and Risk Factors Associated with Platynosomum illiciens Infection in Cats with Elevated Liver Enzymes ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Animals (Published: 30 March 2024)

9 กรกฎาคม 2567

คณะสัตวแพทยศาสตร์

หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Occurrence and Risk Factors Associated with Platynosomum illiciens Infection in Cats with Elevated Liver Enzymes ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Animals (Published: 30 March 2024) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI tier 1 (Journal Impact factor 2.7), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2076-2615/14/7/1065

งานวิจัย เรื่อง Occurrence and Risk Factors Associated with Platynosomum illiciens Infection in Cats with Elevated Liver Enzymes เป็นการศึกษาเพื่อหาความชุก และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดพยาธิใบไม้ในตับ Platynosomum spp. ในแมวที่มีค่าเอนไซม์ตับ Alanine aminotransferase (ALT) สูง ซึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมกราคม 2020 และตุลาคม 2021 จำนวน 43 ตัว จากการนำเอาอุจจาระไปตรวจด้วยวิธี Zinc sulfate flotation และ Formalin-ether sedimentation ร่วมกับการนำเอาไข่พยาธิที่พบไปสกัด DNA และยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี PCR ผ่านยีนส์เป้าหมาย ITS2 และ cox1 จากการศึกษาพบว่า พบความชุกของ Platynosomum spp. ในแมวที่มีค่าเอนไซม์ตับสูง 11.63% (5/43) โดยไข่พยาธิที่พบมีสารพันธุกรรมที่มีความใกล้เคียงกับ Platynosomum illiciens ถึง 99-100% ในการวิเคราะห์สถิติเชิงถดถอยพบว่า แมวที่ไม่มีโปรแกรมการถ่ายพยาธิ มีความเสี่ยงในการติดพยาธิ Platynosomum spp. มากกว่ากลุ่มที่มีโปรแกรมถ่ายพยาธิสูงถึง 16 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าในแมวกลุ่มที่ติดพยาธิมีค่า Eosinophil ในกระแสเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่พบพยาธิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.014) ดังนั้นในแมวที่ตรวจพบค่าเอนไซม์ตับสูง ร่วมกับพบภาวะ Eosinophilia ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยคัดกรองการติดพยาธิ Platynosomum spp. ร่วมกับการได้รับโปรแกรมการถ่ายพยาธิอย่างเหมาะสม
แกลลอรี่