ปวดหัวบ่อย ปวดหัวเรื้อรัง สัญญาณเตือนเสี่ยง "โรคเนื้องอกในสมอง"

17 มิถุนายน 2565

คณะแพทยศาสตร์

เนื้องอกสมองเกิดขึ้นโดยเซลล์ปกติในสมองที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ผิดปกติที่เจริญเติบโตโดยไม่มีการควบคุม เนื้องอกสมองมีหลายชนิด มีทั้งแบบที่เป็นเนื้องอกธรรมดาโตช้า ใช้เวลาเป็นปีกว่าจะมีอาการ บางชนิดและโตเร็วใช้เวลาเป็นสัปดาห์ บางชนิดเกิดขึ้นที่ตัวเนื้อสมองเอง บางชนิดกระจายมาจากเนื้องอกบริเวณอื่นของร่างกาย
อะไรคือสาเหตุของเนื้องอกสมอง
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะดังต่อไปนี้
1. โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น โรคท้าวแสนปม
2. การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคบริเวณศีรษะและลำคอ อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกสมองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ไม่รวมการฉายรังสีเพื่อวินิจฉัยหรือเอ็กซเรย์เอกซเรย์ทั่ว ๆ ไป ซึ่งขนาดรังสีต่ำมาก จะไม่สามารถทำให้เกิดห็นเนื้องอกสมองได้
3. การใช้โทรศัพท์มือถือ: มีการศึกษาพบว่าคลื่นโทรศัพท์มือถืออาจทำให้เกิดอัตราการเกิดเนื้องอกสมองเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย โดยเฉพาะเมื่อใช้คลื่นโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ แต่การศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ดีดีพอและหลายการศึกษาก็ไม่พบความสัมพันธ์นี้ ทำให้ยังไม่เป็นที่สรุปชัดเจน ถ้ามีความกังวลก็ควรใช้โทรศัพท์ที่มีกำลังส่งต่ำ, ใช้ให้ห่างศีรษะมาที่สุด อาจใช้ชนิดที่มีลำโพง หรือใช้เป็น hand free และใช้เท่าที่จำเป็น
4. ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีรายงานว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเนื้องอกสมองแต่ยังสรุปได้ไม่ชัด เช่น ภูมิแพ้, อาหาร, การติดเชื้อบางชนิด, การบาดเจ็บที่สมอง
อาการของเนื้องอกสมอง
อาการของเนื้องอกสมองขึ้นกับตำแหน่งบริเวณในสมองที่เป็น อาการที่พบได้เช่น
- ชัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชักครั้งแรกในวัยผู้ใหญ่โดยไม่มีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ เช่น บาดเจ็บที่ศรีษะ อาการชักอาจมาในรูปของการเกร็ง นิ่งไปเฉย ๆ หรือหมดสติ ก็ได้
- ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะที่สงสัยเนื้องอกสมองเช่น ปวดศีรษะร่วมกับอาการอาเจียน, ปวดศีรษะมาก, ปวดมากตอนกลางคืนหรือเช้ามืด
- อ่อนแรงแขนขา
- พูดไม่ชัด การพูดผิดปกติ
- ตามัว เห็นภาพซ้อน
- พฤติกรรมผิดปกติ ไปทำอะไรแปลก ๆ โดยไม่เคยทำมาก่อนหรือไม่รู้ตัว
- ซึมลง
อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากโรคของสมองอื่น ๆ อีกหลายอย่างซึ่งไม่ใช่เนื้องอกสมองสมอง ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์หากท่านมีอาการดังกล่าว
การวินิจฉัยเนื้องอกสมอง
ถ้าสงสัยโรคเนื้องอกสมอง แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Brain) หรือเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Brain) จึงจะได้การวินิจฉัยที่ชัดเจน โดยยการ CT นั้นสามารถทำใด้โดยใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อยกว่า MRI แต่อาจจะต้องโดนรังสีซึ่งปริมาณรังสีที่โดนจาก CT โดยทั่วไปไม่มีอันตราย ส่วนการทำ MRI อาจเห็นจะทำให้เห็นเนื้องอกสมองบาง
ชนิดส่วนใหญ่ได้ชัดเจนกว่า และไม่โดนรังสี เนื่องจากแต่ใช้คลื่นแม่เหล็กเป็นตัวสร้างภาพ แต่การทำทำให้การทำจะใช้เวลานานกว่า CT และค่าใช้จ่ายสูงกว่า การจะเลือกวิธีตรวจใดขึ้นอยู่กับแพทย์สงสัยพยาธิสภาพใดในสมอง
เนื้องอกสมองรักษาได้หรือไม่
ขึ้นอยู่กับขนาดและระยะของเนื้องอกสมอง เนื้องอกสมองชนิดธรรมดา ขนาดไม่ไมใหญเล็ก อาจสามารถรักษาให้หายได้ แต่เนื้องอกสมองที่โตเร็วและขนาดใหญ่ อัตราการรักษาหายจะลดลง
การรักษามีหลายวิธี ได้แก่
1. การผ่าตัด แพทย์จะตัดเนื้องอกออกให้มากที่สุด โดยให้กระทบกับผู้ป่วยน้อยที่สุด ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก บางครั้งเนื้องอกอยู่ไม่ลึก สามารถตัดออกได้หมดและหายขาด บางครั้งเนื้องอกอยู่ในตำแหน่งใกล้กับสมองส่วนที่ทำหน้าที่สำคัญ เส้นประสาท หรือหลอดเลือด อาจตัดออกไม่ได้ หรือไม่หมด หรือตัดออกไม่ได้ อาจทำได้แค่เพียงเอาชิ้นเนื้อเล็ก ๆ มาตรวจเพื่อรักษาด้วยวิธีอื่นต่อไป
2. ฉายรังสี การฉายรังสีเป็นการทำลายเซลล์เนื้องอก อาจจะใช้การฉายรังสีหลังจากการผ่าตัดเนื้องอกออกบางส่วน หรือฉายรังสีเมื่อการผ่าตัดไม่สามารถทำได้
3. การรักษาด้วยยา การใช้ยาเคมีบำบัดรักษาเนื้องอกสมอง มักใช้หลังจากการผ่าตัดหรือฉายแสง มีทั้งแบบกินและแบบฉีด การใช้ยาขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอกสมอง
การรักษาทุกอย่างมีความเสี่ยงและผลแทรกซ้อน ผู้ป่วยมีสิทธิปรึกษาและพูดคุยกับแพทย์และทีมงานในเรื่องการวินิจฉัย ความเสี่ยง การรักษา และตัดสินใจร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.นพ. ธนัฐ วานิยะพงศ์ อาจารย์ประจำหน่วยประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


เรียบเรียง : นางสาว ธัญญลักษณ์ สดสวย
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
#เนื้องอกในสมอง

แกลลอรี่