สาร 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) เป็นสารให้ความหอมที่สำคัญของข้าวหอมมะลิไทยสายพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 (KDML105)

16 พฤศจิกายน 2564

คณะเกษตรศาสตร์

สาร 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) เป็นสารให้ความหอมที่สำคัญของข้าวหอมมะลิไทยสายพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 (KDML105) ที่มีชื่อเสียงระดับโลก พื้นที่การผลิตที่สำคัญอยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาดินเค็มและการใช้สารเคมีทางการเกษตรปริมาณสูง ทำให้ข้าวมีปริมาณสารให้ความหอม 2AP ลดลง ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาไรโซแบคทีเรียจากดินรอบรากข้าวเพื่อผลิตสาร 2AP และศักยภาพในการเพิ่มปริมาณสาร 2AP ในต้นกล้าข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกภายใต้สภาวะความเครียดเกลือ จากผลการวิจัยพบว่าไรโซแบคทีเรียที่แยกได้สามารถผลิตสาร 2AP ได้ในหลอดทดลอง และสามารถช่วยเพิ่มปริมาณสาร 2AP ในต้นกล้าข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกภายใต้สภาวะความเครียดเกลือได้ โดยมีเชื้อแอคติโนแบคทีเรีย Sinomonas sp. strain ORF15-23 ซึ่งสามารถเข้าอาศัยอยู่ในรากข้าว เป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับช่วยส่งเสริมการผลิตสารให้ความหอม 2AP ของข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดินเค็ม ผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Biology-Basel ???? ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2079-7737/10/10/1065

#คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์
#คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน #CMUBGCmodel #CMUSDGs #CMUSDG1 #CMUSDG2 #CMUSDG3 #CMUSDG12
แกลลอรี่