อาจารย์ CAMT ให้การต้อนรับเครือข่ายสหภาพยุโรป โปรแกรม Erasmus + พร้อมเยี่ยมชมการดำเนินงานนำร่องของ “ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย”

20 ธันวาคม 2566

วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี

         เมื่อวันที่ 13-15 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล หัวหน้าโครงการ ASTRA ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณิษวาส จินตพิทักษ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล คงจิตต์ ให้การต้อนรับอาคันตุกะจาก University of Florence พันธมิตรภายใต้โครงการ ASTRA ในโอกาสเข้าตรวจเยี่ยมเพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานนำร่อง “ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (The monitoring visit of the pilot operation of the ASTRA R&D Innovation and Consulting Hub, CMU, Thailand)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในโครงการ ASTRA (Advancing Strategic Management Leadership and Fundraising in Higher Education in Asia / ASTRA) ภายใต้กรอบการดำเนินงาน Erasmus+ โปรแกรมเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้านอุดมศึกษา สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (European Union: EU)
       สำหรับกิจกรรมการตรวจเยี่ยมเพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานนำร่องศูนย์ฯ ครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สบว.มช) และ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี วัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานนำร่องของศูนย์ฯ ในมิติด้านความยั่งยืนและการขยายเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถแก่บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ผ่านการดำเนินงานนำร่องของศูนย์ดังกล่าว ซึ่งได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลวิจัยและออกแบบรูปแบบวิธีการระดมทุน เพื่อการแสวงหาแหล่งทุนวิจัยให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาตั้งแต่ปลายปี 2564
        ในการนี้ อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ ได้กล่าวต้อนรับอาคันตุกะ แนะนำโครงการวิจัยต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นด้าน Cross border E-commerce การพัฒนาพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงโอกาสความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยฯ และมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร (Student and staff mobility) ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพยุโรป โปรแกรม Erasmus+
        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล หัวหน้าโครงการ ASTRA และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร ได้กล่าวรายงานความคืบหน้าผลการการดำเนินงานนำร่องศูนย์ฯ ในรอบปีที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานศูนย์ฯ ในระยะยาว พร้อมนำอาคันตุกะเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยด้านต่าง ๆ บริเวณชั้น 2 อาคารวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และบันทึกภาพถ่ายร่วมกัน ประกอบด้วย

  • ห้อง Innovation Computer & Advanced Technology Lab ให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัยโดย อาจารย์ ดร.เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ และทีมวิจัย
  • กลุ่มวิจัยด้านแอนิเมชันและเกมส์ (Nap Lab) ให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัยโดย อาจารย์ ดร.กลวัชร คล้ายนาค และทีมวิจัย
  • ห้อง Co-Working Space and Creative Design ของกลุ่มวิจัยด้าน 3D Printing โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล คงจิตต์ และทีมวิจัย พร้อมมอบพวงกุญแจที่ระลึก ผลงานที่สร้างจากเครื่อง 3D Printing ให้แก่อาคันตุกะ

แกลลอรี่