หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
กีฬา
Featured
สุขภาพ
กฎหมายกฎระเบียบ
การบริจาค
เทคโนโลยี
ศาสนา
วารสาร
บทความเกี่ยวกับ 60 ปี มช.
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
เอกลักษณ์องค์กร (CI)
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
ลิงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
CMU First Year
CMU IT Life
โครงการแลกเปลี่ยน
ทุนการศึกษา
คลังภาพคลังข่าว
ข้อมูลสาธารณะ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
ภาษา
ภาษาไทย
อังกฤษ
จีน
TH
|
EN
|
CN
หน้าแรก
ข่าว
ข่าว
CAMT ต้อนรับคณะดูงานสมาชิกวุฒิสภา การจัดทำแพลตฟอร์มย่านล้านนาสร้างสรรค์
24 พฤศจิกายน 2566
วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. มณิษวาส จินตพิทักษ์ อาจารย์ ดร.เกียรติกร สำอางกูล อาจารย์ ดร.พชร ตินะมาส อาจารย์ดร.เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ อาจารย์วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ดร.สุพรรณิการ์ ศุภทรัพย์ นักวิจัย วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และนายต่อพงษ์ เสมอใจ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและสร้างสรรค์ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ ให้การต้อนรับ พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ รองประธานกรรมการสมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมการในโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) เพื่อประชุมและหารือร่วมกันในประเด็นความคืบหน้าการดำเนินงานจัดทำ แพลตฟอร์มย่านล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Community Platform) โดยเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในรูปแบบแพลตฟอร์ม UGC ด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ขับเคลื่อนร่วมกับคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในจังหวัดภาคเหนือตอนบน
แพลตฟอร์มดังกล่าว เป็นการพัฒนาโลกเสมือนสามมิติ (Virtual World) เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่ให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทยและต่างชาติ ในรูปแบบประสบการณ์เชิงประวัติศาสตร์ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ผ่านเทคโนโลยี AR ด้วยมุมมอง 360 องศา โดยการแนะนำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงความศรัทธา (Interactive map) และนำทางด้วย Google map อาทิ วัดพระสิงห์ ประตูท่าแพ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยเหลือชุมชน โดยการส่งเสริมการหมุนเวียนรายได้สู่ร้านค้าที่อยู่ในบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งโครงการแพลตฟอร์มย่านล้านนาสร้างสรรค์ นี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯ ในหัวข้อ Creative Economy ที่นำศาสตร์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ผนวกกับวัฒนธรรมที่โดดเด่นน่าสนใจให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ช่วยเหลือสังคมและชุมชนให้ยั่งยืน ตลอดจนแสวงหาแนวทางขับเคลื่อนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือ และแสวงหาแนวทางการดำเนินงานให้ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนใช้แพลตฟอร์มย่านล้านนาสร้างสรรค์ต่อไป ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ณ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: