CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
วันถุงลมโป่งพองโลก (WORLD COPD DAY)
8 พฤศจิกายน 2566
คณะแพทยศาสตร์
องค์การอนามัยโลก และองค์การโรคถุงลมโป่งพองโลก ได้กำหนดให้วันพุธสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันแห่งการรณรงค์โรคถุงลมโป่งพองโลก
โรคถุงลมโป่งพอง คืออะไร?
โรคถุงลมโป่งพองหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หมายถึง โรคระบบการหายใจที่เป็นผลจากการอักเสบเรื้อรังต่อหลอดลมและหลอดลมฝอย (หลอดลมอักเสบเรื้อรัง) หรือมีการทำลายผนังถุงลม (ถุงลมโป่งพอง) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย ไอ มีเสมหะแบบเรื้อรัง ร่วมกับมีการจำกัดการไหลของอากาศในขณะหายใจออก ที่จะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โรคนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 ของการเสียชีวิตของประชากรโลก และการกำเริบเฉียบพลันของโรคจะมีผลต่อการเสียชีวิต สมรรถภาพปอดที่แย่ลง และคุณภาพชีวิตในระยะยาว
สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง
ปัจจุบันโรคนี้เป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรม ร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะจากควันจากการสูบบุหรี่ และมลภาวะทั้งจากในบริเวณบ้านและนอกบ้าน ได้แก่ ควันพิษและก๊าซที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ต่างๆ รวมทั้งฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เป็นเวลานาน
อาการของโรคถุงลมโป่งพอง
ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง อาจจะมีหรือไม่มีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อยซึ่งจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยในขณะที่ออกแรง และในระยะที่โรคเป็นมากขึ้น จะมีอาการเหนื่อยแม้ในขณะพัก อาการอื่นที่พบได้ เช่น แน่นหน้าอก หรือหายใจมีเสียงหวีด
การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง
1. การรักษาโดยใช้ยา ได้แก่ ยาสูดขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาวในรายที่มีอาการเหนื่อยในระดับ 2 (เดินบนพื้นราบได้ช้ากว่าคนอื่นที่อยู่ในวัยเดียวกันเพราะหายใจหอบ หรือต้องหยุดเพื่อหายใจ เมื่อเดินตามปกติบนพื้นราบ) ขึ้นไป หรือมีอาการกำเริบเฉียบพลันรุนแรงปานกลาง อย่างน้อย 2 ครั้ง ในปีที่ผ่านมา หรือมีอาการกำเริบเฉียบพลันรุนแรงที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ครั้ง ในปีที่ผ่านมา ร่วมกับยาสูดขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น เมื่อมีอาการเหนื่อย
2. การหยุดสูบบุหรี่
3. การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ การให้วัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ และวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในรายที่มีอาการเหนื่อยตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป เป็นต้น
การป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง
การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการกำเริบของโรค ได้แก่ การไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงฝุ่นควันจากมลภาวะต่าง ๆ หลีกเลี่ยงผู้ที่ติดเชื้อหวัด การได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อระบบการหายใจ และการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งด้วยวิธีการสูดที่ถูกต้อง รวมทั้งการออกกำลังกายที่เหมาะสม และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.นพ.อรรถวุฒิ ดีสมโชค หัวหน้าหน่วยวิชาระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง:นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: