CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
นักวิจัย มช. ร่วมกับนักวิจัยจีน คิดค้นเทคนิคใหม่ในการสร้างฟิล์มบางกันน้ำแบบใส สำหรับเพอรอฟสไกต์โซลาร์เซลล์ต้นทุนต่ำ ที่มีประสิทธิภาพและความทนทานสูง
22 มิถุนายน 2566
คณะวิทยาศาสตร์
ทีมนักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์ (SCRL)
ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับทีมนักวิจัยจาก Institute of Solar Energy, Shanghai Jiao Tong University สาธารณรัฐประชาชนจีน ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อ “A new single-step technique to fabricate transparent hydrophobic surfaces utilizable in perovskite solar cells” ซึ่งเป็น
เทคนิคขั้นตอนเดียวแบบใหม่ในการสร้างฟิล์มบางกันน้ำแบบใสสำหรับเพอรอฟสไกต์โซลาร์เซลล์ต้นทุนต่ำที่มีประสิทธิภาพและความทนทานสูง
งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคไฮโดรไลซิสของการระเหยยางซิลิโคน สร้างฟิล์มบางแบบใสที่ไม่ชอบน้ำขึ้นระหว่างชั้นฟิล์มส่งผ่านอิเล็กตรอน TiO
2
และชั้นฟิล์มดูดกลืนแสงเพอรอฟสไกต์ โดยอาศัยการสร้างพันธะระหว่างกลุ่มสารที่ไม่ชอบน้ำอย่าง -Si (CH
3
)
3
กับหมู่ -OH บนชั้นฟิล์มส่งผ่านอิเล็กตรอน TiO
2
เทคนิคดังกล่าวช่วยเพิ่มคุณภาพของฟิล์มเพอรอฟสไกต์ให้มีความเป็นผลึกที่ใหญ่และความเสถียรที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดการรวมกลับของประจุไฟฟ้าที่รอยต่อระหว่างชั้นส่งผ่านอิเล็กตรอนกับชั้นดูดกลืนแสงเพอรอฟสไกต์ จึงทำให้
มีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มากกว่า 17% และมีความทนทานต่อความชื้นสูง
เทคนิคดังกล่าวถือว่าเป็นเทคนิคที่ง่าย ต้นทุนต่ำ มีประสิทธิภาพและความทนทานต่อความชื้นสูง เหมาะสำหรับการใช้งานในประเทศไทย โดยถือว่าเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดต่อไปในอนาคต
งานวิจัยนี้จึงสอดคล้องกับ SDG 7: Affordable and Clean Energy ที่มุ่งเน้นการสร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสะอาดสมัยใหม่ที่เชื่อถือได้และยั่งยืนในราคาย่อมเยาว์
งานวิจัยถูกตีพิมพ์ในวารสาร Applied Surface Science (Q1 ISI/Scopus,Impact Factor 7.392) Published: March 2023
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://doi.org/10.1016/j.apsusc.2022.155969
นักวิจัย
ทีมนักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์ (SCRL)
ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย
รศ.ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล, รศ.ดร.พิพัฒน์ เรือนคำ, นางสาววรพรหม พัสธรธัชกร (นักศึกษาระดับปริญญาเอก), นางสาววารุณี คำปา (นักศึกษาระดับปริญญาโท), นายวงศธร มุสิกปาน (นักศึกษาระดับปริญญาโท) และ ดร. ชวลิต ภู่มณี ร่วมกับทีมนักวิจัยจาก Institute of Solar Energy, Shanghai Jiao Tong University สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย Mr. Sadeq Abbasi, Dr. Hong Liu และ Prof. Dr. Wen Zhong Shen
งานวิจัยและนวัตกรรม
เทคโนโลยี
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: