แนวทางในการปรับปรุงการจัดการแมงกานีสให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพที่สูงที่สุดในการใช้แมงกานีส
22 พฤษภาคม 2566
คณะเกษตรศาสตร์
ข้าวหอมได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถผลิตสารที่ให้กลิ่นหอม 2-Acetyl-1-Pyrroline (2AP) นอกจากนี้ยังมีคุณภาพการหุงต้มที่ดี เช่น ความอ่อนนุ่มของเมล็ด ทำให้ได้รับความนิยมและมีความต้องการในการบริโภคข้าวหอมที่เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามข้าวหอมยังให้ผลผลิตที่ต่ำ และคุณภาพความหอมที่ไม่เสถียร ซึ่งถูกควบคุมด้วยหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการจัดการแมงกานีสที่เหมาะสมในการปลูกข้าวเป็นสิ่งจำเป็นในการปรับปรุงทั้งผลผลิตเมล็ดและปริมาณ 2AP ต่อต้นของข้าวหอมไทย ซึ่งผลจากการศึกษาครั้งนี้อาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดการแมงกานีสให้เหมาะสม เพื่อประสิทธิภาพที่สูงที่สุดในการใช้แมงกานีสในการเพิ่มผลผลิตเมล็ดและความหอม และใช้ในการศึกษาทางสรีรวิทยาเพื่อพัฒนาคุณภาพของข้าวหอมไทย และยังเป็นพื้นฐานเพื่อการพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์อื่นๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคมากขึ้น
ผลงานวิจัยได้รับตีพิมพ์ในวารสาร Agronomy
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2073-4395/13/3/788