CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
เชื้อราจากน้องเหมียว.. ที่ทาสแมวต้องระวัง
27 กรกฎาคม 2565
คณะแพทยศาสตร์
ในปัจจุบัน มีผู้คนให้ความสำคัญกับการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมากขึ้น โดยเฉพาะน้องแมว ที่หลายคนคุ้นหูกันดีกับคำว่า “ทาสแมว” หากผู้ใดได้เลี้ยงแมวแล้วจะเกิดเป็นโรคคลั่งแมว จนยอมเป็นทาสเลยก็ว่าได้ จึงมีชื่อเรียกผู้เลี้ยงแมวว่า “ทาสแมว” วงการนี้เข้าง่ายออกยาก จนเกิดอาการแมวงอกคือการที่ได้เลี้ยงแมวแล้ว แมวจะค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ
แต่การเลี้ยงแมวก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เหล่าบรรดาผู้เลี้ยงต้องหมั่นดูแลเรื่องสุขภาพน้องแมว และวัคซีนประจำปีที่น้องแมวจะต้องได้รับ รวมถึงยากำจัดเห็บหมัดที่จะต้องคอยหยอดหยดยากันเห็บ หมัด ทุก 1 เดือน และมีบางยี่ห้อออกฤทธิ์ได้นาน 3 เดือน จัดสถานที่อยู่ให้สะอาด แยกโซนในการเลี้ยง หากผู้เลี้ยงติดน้องแมวจนถึงขั้นกอด หอม และนอนด้วย เมื่อน้องแมวติดเชื้อรา แน่นอนผู้เลี้ยงแมวต้องคอยสังเกตุตัวเองว่า เชื้อราแมวสามารถนำเชื้อสู่คนได้แน่นอน
ดังนั้นเมื่อมีการเลี้ยงแมวเพิ่มมากขึ้นทุกปี ปัญหาโรคที่ติดต่อจากแมวย่อมมีมากขึ้น เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยเชื้อราแมวสู่คนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแมวพันธุ์เปอร์เซีย โดยเชื้อราแมวสู่คนไม่ได้ติดเพียงแค่จุดเดียว บางรายกระจายตามแขนและขา บางครั้งติดกันทั้งบ้าน
เชื้อราที่เกิดขึ้นในแมว
โดยมากเชื้อที่เป็นในผิวหนังทำให้แมวขนร่วง จะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน โดยมีชื่อจำเพาะว่า Microsporum spp. ได้แก่ M. canis ,M. gypseum และ Trichophyton spp.
ส่วนใหญ่ที่พบจะเกิดจาก Microsporum canis โดยมีการ swab หาเชื้อ
การติดต่อ
การสัมผัสกับแมวป่วย หรือแมวที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ
การสัมผัสกับเชื้อในสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ใช้ร่วมกัน
อาการ
-ไม่แสดงอาการ
-อาการแสดงในแมวอายุน้อย และแมวที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะมีขนร่วงเป็นวง มีรังแค คันเล็กน้อยถึงปานกลาง
การวินิจฉัย
ดูชนิดของเชื้อรา
ดูจากกล้องกล้องจุลทรรศน์
การเพาะเชื้อ
-การทำ PCR
เมื่อทำการวินิจฉัยได้ว่าน้องแมวเป็นเชื้อรา แพทย์จะทำการรักษาแมวดังนี้
-ยารักษาเชื้อรา ชนิดรับประทาน
-แชมพูฆ่าเชื้อรา
-ยาทา
-แนะนำให้ผู้เลี้ยงจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยการดูดฝุ่น ทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง อาจจะใช้สารฆ่าเชื้อต่างๆ
*สำหรับเชื้อรา Sporotrichosis เป็นโรคเชื้อราชนิดเรื้อรังของผิวหนังส่วนลึกและหลอดนํ้าเหลือง ทำให้เห็นเป็นแผลหรือก้อน สามารถติดต่อสู่คนได้จากการที่ถูกแมวที่ติดเชื้อกัด หรือข่วน
การวินิจฉัย ดูเซลล์เชื้อจากแผล เพื่อยืนยัน โดยจะส่งเพาะเชื้อ
การรักษา ให้ยาฆ่าเชื้อรา
*โรค Cryptococcosis เป็นเชื้อราชนิดแพร่กระจาย ติดต่อผ่านทางเดินหายใจในแมว ส่วนมากจะเป็นนกพิราบ ทำให้แมวเป็นแผล รักษาได้ยาก หากรักษาไม่หายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย ดูเชื้อจากเซลล์
การรักษา ยารักษาเชื้อรา ทั่วไป
การป้องกัน เมื่อได้น้องแมวมาเลี้ยง ส่วนใหญ่หากซื้อจากฟาร์ม จะปนกับแมวจำนวนมาก ต้องรีบเข้ามาเช็คเชื้อรา ที่โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงวัคซีน ในกรณีแมวโตที่เลี้ยงหากมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แนะนำให้เลี้ยงปิดจะดีกว่า
ทั้งนี้การติดต่อเชื้อราแมวสู่คน มักจะติดต่อโดยการอุ้ม และเมื่อผู้เลี้ยงมีการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นใบหน้า แขนขา เส้นผม ศีรษะโดยเฉพาะในเด็กเล็กมักจะมีปัญหามาก
โรคในคนที่เกี่ยวข้องกับแมว
1.โรคติดเชื้อจากการโดนแมวกัด เนื่องจากเชื้อโรคในช่องปากของแมว จะมีเชื้อจำเพาะอยู่
2.โรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับขนแมว หรือรังแคของแมว อาจจะกระตุ้นโรคภูมิแพ้เจ้าของ
ที่เลี้ยงได้เช่นกัน
3.โรคที่เกิดจากหมัดแมวกัด พบได้บ่อยในผู้เลี้ยงแมว
4.โรคติดเชื้อราจากแมว ไม่ว่าจะในคนหรือสัตว์จะมีลักษณะคล้ายกัน
5.โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อจากแมว มีโรคบางชนิดที่ค่อนข้างจะจำเพาะว่าแมวเป็นพาหะนำโรคแบคทีเรียบางอย่างที่จำเพาะ ซึ่งโรคดังกล่าวก็เกี่ยวข้องกับหมัดแมวด้วย เช่นโรคติดเชื้อในกลุ่ม Bartonella
โรคติดเชื้อราในคน ส่วนใหญ่พบเป็นโรคติดเชื้อราชนิดตื้น คือ โรคกลาก เชื้อราที่ติดจากแมวก็จะเป็นเชื้อกลุ่มเดียวกันที่ทำให้เกิดโรคในแมว เช่น M. canis ถ้าเป็นรอยโรคที่ผิวหนังก็จะทำให้มีรอยโรคเป็นวง แต่มักมีการอักเสบมากกว่าที่เป็นเชื้อราที่ติดมาจากคนหรือดิน บางครั้งมีน้ำเหลืองซึมได้ ถ้าเป็นที่ศีรษะจะทำให้มีผมร่วงเป็นหย่อม มีสะเก็ดที่ศีรษะ บางครั้งก็มีการอักเสบมีหนองคล้ายฝีได้
โรคติดเชื้อราชนิดลึก ได้แก่ โรค Sporotrichosis ปัจจุบันเริ่มมีการพบมากขึ้นว่าโรคนี้ติดต่อมาจากแมว ซึ่งเดิมส่วนใหญ่ติดมาจากการทิ่มตำของหนามกุหลาบ ลักษณะรอยโรคที่พบบ่อยและค่อนข้างจำเพาะ คือเป็นตุ่มอักเสบเป็นก้อน และกระจายเป็นแนวตามท่อน้ำเหลือง
โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ไม่บ่อย ที่เกิดจากแมวกัด ข่วน เลีย จากเชื้อในกลุ่ม Bartonella ได้แก่ โรค Cat scratch disease มีแผลหรือตุ่มคล้ายฝี ร่วมกับมีต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้สูง แต่ถ้าเกิดในผู้ป่วยต้านทานต่ำ จะทำให้เกิดโรค Bacillary angiomatosis ซึ่งมีลักษณะรอยโรคเป็นตุ่มแดงคล้ายกับโรคเนื้องอกของหลอดเลือด
การวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อราชนิดตื้น
ก็สามารถทำได้โดยขูดเอาสะเก็ดหรือเส้นผมที่เป็นโรคมาตรวจดูเส้นใยของเชื้อราด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือการเพาะเชื้อ
ยาต้านเชื้อราจะมีทั้งชนิดทา และชนิดรับประทาน
โดยปกติหากติดเชื้อทางผิวหนังจะใช้ยาชนิดทา เวลาทายาต้องทาให้กว้างกว่ารอยโรคที่เห็นและนานเพียงพอ อย่างน้อย 1-1.5 เดือน ขึ้นกับชนิดของยา หากเป็นบางตำแหน่งควรต้องใช้ยารับประทานด้วย เช่น โรคกลากที่มือและเท้า โรคกลากที่เล็บ โรคกลากที่ศีรษะ หรือในกรณีที่เป็นโรคกลากที่ผิวหนังบริเวณกว้าง และโรคติดเชื้อราชนิดลึก
อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อสัตว์เลี้ยงทำให้ผู้เลี้ยงติดเชื้อทางผิวหนัง เสื้อผ้าควรได้รับการซักที่สะอาด แช่ไฮเตอร์ สารฟอกขาว โซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือแนะนำให้ใช้ความร้อน รีดทั้งด้านนอกและด้านในของเสื้อผ้า เนื่องจากสปอร์เชื้อรา ทนต่อสิ่งแวดล้อม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: รศ.นพ.สิริ เชี่ยวชาญวิทย์ อาจารย์พิเศษ สาขาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. และ ผศ.สพ.ญ.ดร.ชลลดา โสดารัตน์ อาจารย์ประจำคลินิกสัตว์เล็ก ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง: นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#เชื้อราจากน้องเหมียว #ทาสแมว
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU ดูน้อยลง
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: