เปิดโครงการและเสวนาวิชาการ Air For All – ลดการเผา เพื่ออากาศสะอาด

21 มีนาคม 2568

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

           มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงานเปิดตัวโครงการ แถลงข่าวและเสวนาวิชาการ "AirForAll – ลดการเผา เพื่ออากาศสะอาด" ตามแผนงาน "การลดไฟในป่ากรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่ นโยบาย และการสื่อสารเชิงรุก" โดยมีรองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวสนับสนุนโครงการ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ ประธานคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (AcAir CMU) หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Environmental Science Research Center #ESRC ผู้อำนวยการแผนงาน กล่าวรายงาน และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่จากส่วนงานต่างๆ ร่วมงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนา นวัตกรรมและแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 แบบบูรณาการ เพื่อรองรับภาวะวิกฤติด้านมลพิษทางอากาศของประเทศ ณ ห้องนันทา 1 โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่ วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2568
            แผนงานวิจัย“การลดไฟในป่ากรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่ นโยบาย และการสื่อสารเชิงรุก” มีโครงการย่อยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
            ผศ.ดร.ภูดินันท์ สิงห์คำพู วิทยาลัยสื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CAMT College of Arts, Media and Technology วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยที่ 1 "การศึกษาพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ (UAV) และระบบลาดตระเวนชี้เป้าด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อการตรวจจับไฟป่าด้วยข้อมูลภาพจากระบบอากาศยานไร้คนขับ พื้นที่ศึกษาอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่"
            รศ.ดร.อรัญญา ศิริผล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ มช. ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยที่ 2 "การศึกษาสาเหตุต้นตอปัญหาหมอกควันไฟป่าแบบมีส่วนร่วมผู้มีส่วนได้เสีย และกระบวนการจัดการความขัดแย้งด้วยพหุศาสตร์วิชาการและยุติธรรมชุมชน"
            ผศ.ดร.จิรวรรณ กิจชัยเจริญ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาชัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยที่ 3 "การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อพัฒนารูปแบบและเกณฑ์การจ่ายตอบแทน คุณระบบนิเวศป่าไม้เพื่อป้องกันและลดไฟป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย"
            ผศ.ดร.ชาคริต โซติอมรศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ มช. ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยที่ 4"การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล: ยกระดับทักษะผู้ใช้และเสริมศักยภาพของระบบ FireD"
            รศ.ดร.เอกบดินทร์ วินิจกุล สถาบันเทคโนไลดีแห่งเอเชีย(Asian Institute of Technology) Asian Institute of Technology ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยที่ 5 "การพัฒนาฐานข้อมูลบัญชีการระบายมลพิษทางอากาศของประเทศไทย"
            ผศ.ดร.อรอร ภู่เจริญ สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยที่ 6 "การวิจัยเพื่อพัฒนาแผนแก้ไขและรับมือปัญหา PM2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่"
            ผศ.ดร.ว่าน วิริยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Faculty of Science, Chiang Mai University และ ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ,RIHES CMU ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยที่ 7 "การบูรณาการสื่อสารเชิงรุกและสร้างเครือข่าย Active Citizen " โดยใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อรับมือกับปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างมีประสิทธิภาพในระดับพื้นที่
           ไฮไลต์สำคัญ แผนงานการลดไฟป่า กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย การเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อการบริหารจัดการไฟป่า แนวนโยบายและการสื่อสารเชิงรุกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โครงการย่อย "ไม่มีการลดไฟโดยไม่ปลูกไม้"
 
แกลลอรี่