CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
ให้รักด้วยใจ ให้หัวใจสุขภาพดี
14 กุมภาพันธ์ 2567
คณะแพทยศาสตร์
สาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจเกิดด้วยหลายประการด้วยกัน ได้แก่
– พันธุกรรม ความผิดปกติของยีนส์หนึ่งยีนส์ที่นำไปสู่การทำให้เกิดโรค เช่น ภาวะโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ส่วนใหญ่เป็นโรคที่มียีนส์หลายยีนส์ควบคุม เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคเบาหวาน
– ปัจจัยแวดล้อม เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และเกลือสูง ภาวะอ้วน การขาดการออกกำลังกาย โดยปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ยีนส์ผิดปกติทำงานมากขึ้น และส่งผลทำให้เกิดโรคได้ในที่สุด
สัญญาณเตือน อาการที่ควรตระหนักรู้ของโรคหัวใจ
เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์
1. เจ็บอกขณะออกแรง เช่น เดินขึ้นบันได เดินทางไกล ยกของหนัก แล้วมีอาการจุกแน่นอก หรือหนักอกเสมือนช้างทับอก จนต้องหยุดพักจึงจะดีขึ้น
2. ใจสั่น ไม่ว่าจะเป็นอาการที่รู้สึกว่าเต้นเร็ว ช้า หรือไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหนื่อยง่ายขึ้น วูบ หน้ามืด
3. อาการบวม เกิดจากการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อ เมื่อเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ไตจะทำหน้าที่สะสมน้ำและเกลือโซเดียมในร่างกายมากขึ้น น้ำที่เกินจะไปสะสมในบริเวณที่อยู่ต่ำตามแรงโน้มถ่วง หากยืนนาน ขาจะบวม หากนอนนานจะบวมบริเวณก้นกบ เป็นต้น
4. เหนื่อยง่ายขึ้น จากเคยขึ้นบันไดได้ง่าย ๆ สบาย ๆ กลายเป็นเดินขึ้นแล้วเหนื่อย ต้องหยุดพัก หรือนอนราบไม่ค่อยได้ มีอาการหายใจไม่ออก จนต้องหนุนหมอนสูงขึ้น จึงจะทำให้หายใจได้โล่ง
5. วูบหมดสติ หากมีอาการใจสั่นนำมาก่อนการหมดสติ จะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาการดังกล่าวจะเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การป้องกันโรคหัวใจ
– ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
– ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
– ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็ม
– เน้นรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น เดินสายพาน เต้นแอโรบิก วิ่ง ว่ายน้ำ
– ไม่สูบบุหรี่
– หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: