CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
คณะแพทย์ มช. เผย ผลการวิจัย พบค่าฝุ่น PM 2.5 มีผลทำให้เลือดกำเดาไหล
13 มีนาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. เผยผลการวิจัย ชี้ชัด ค่าฝุ่น PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วยเลือดกำเดาไหลอย่างมีนัยสำคัญ
รศ.พญ.กรรณิการ์ รุ่งโรจน์วัฒนศิริ หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนก.พ. – เม.ย. ของทุกปี ภาคเหนือตอนบนจะเจอกับปัญหาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว อาการที่มักจะพบบ่อยคือ ตาแดง ผื่นขึ้นตามส่วนต่างๆของร่างกาย เยื่อบุจมูกอักเสบ และเลือดกำเดาไหล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาการที่ผู้ปกครองมักพาบุตรหลานมาพบแพทย์บ่อยที่สุด ส่วนสาเหตุที่เด็กมีเลือดกำเดาไหลในช่วงที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงนั้น ทางภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้ทำการศึกษาร่วมกับนักศึกษาแพทย์ หาความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์ของการเกิดเลือดกำเดาไหลในผู้ป่วยนอกเเละห้องฉุกเฉินของ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กับค่าฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน ในช่วงที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 พบว่า ค่าฝุ่น PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการเลือดกำเดาไหลอย่างมีนัยสาคัญ ซึ่งปกติแล้วบริเวณเยื่อบุในจมูกคนเราจะมีเลือดมาเลี้ยงเยอะอยู่แล้ว หากสูดเอาฝุ่น PM2.5 เข้าไป จะทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเยื่อบุในช่องจมูก และไปกระตุ้นทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีโอกาสเลือดกำเดาไหลง่ายกว่าผู้ใหญ่ เมื่อพบว่ามีเลือดกำเดาไหล ให้ก้มหน้าลงแล้วใช้มือบีบบริเวณปีกจมูกทั้งสองข้างเข้าหากัน ค้างไว้ประมาณ 5 นาที อาจช่วยในการห้ามเลือดเบื้องต้นได้ หากมีเลือดไหลลงคอให้บ้วนออกมา จะช่วยให้เลือดไม่อุดทางเดินหายใจและยังช่วยประเมินปริมาณเลือดที่ออกด้วย แต่หากกดปีกจมูกแล้วหลังจากที่ปล่อยยังมีเลือดไหลออกมาปริมาณมาก หรือเลือดกำเดาไหลข้างเดียว ร่วมกับมีอาการปวด คัดจมูกในข้างนั้น อาจสงสัยภาวะก้อนในโพรงจมูก ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
นอกจากนี้ยังพบว่า ในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน ผู้ป่วยที่เป็นจมูกอักเสบภูมิแพ้ มักจะมีอาการแย่ลง ดังนั้นในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูง ควรใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ , หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มีฝุ่นเยอะ และควรล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเพราะจะช่วยล้างเศษฝุ่นละออง สะเก็ด หรือน้ำมูกออกมาได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.พญ.กรรณิการ์ รุ่งโรจน์วัฒนศิริ หัวหน้าภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช.
นางสาวสมัชญา หน่อหล้า รายงาน
ภาพ/ข่าว: กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: