9 ธันวาคม 2563 ปิดฉากการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 17 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มช.

9 ธันวาคม 2563

คณะวิทยาศาสตร์

          การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 17 : 17th Thailand Biology Olympiad (17th TBO) ปิดฉากลงแล้วอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          วันที่ 9 ธันวาคม 2563 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิธีปิดการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 17 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กรรมการบริหารมูลนิธิ สอวน. เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขัน ศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีฯ และศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานผลการจัดการแข่งขันฯ ณ ห้องบรรยาย SCB2100 อาคาร 40 ปี คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งการแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-9 ธันวาคม 2563 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลการแข่งขันปรากฏว่า มีนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 10 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 20 รางวัล รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 30 รางวัล และรางวัลพิเศษ จำนวน 7 รางวัล ได้แก่ รางวัลผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุด ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนสอบภาคทฤษฎีสูงสุด ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนสอบภาคปฏิบัติสูงสุด ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคเหนือ ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคใต้ ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก โดยผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุดในการแข่งขันครั้งนี้ ได้แก่ นายกิตติธัช รัตนวรรณชัย จากศูนย์ สอวน. โรงเรียนเทพศิรินทร์

ทั้งนี้ นักเรียนที่มีคะแนนสูงสุด จำนวน 15 คน จะได้เข้าร่วมอบรมในโครงการคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เพื่อพัฒนาและต่อยอดไปสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ

และนอกจากการมอบรางวัลให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันแล้ว ภายในพิธีปิดฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังได้ส่งมอบธงการจัดการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ให้กับศูนย์ สอวน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 18 ในปี 2564 ต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ กรรมการบริหารมูลนิธิ สอวน. ประธานในพิธี กล่าวว่า "ในนามของมูลนิธิ สอวน. ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 17 โดยเฉพาะนักเรียนที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ การแข่งขันนี้เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถของนักเรียน ในเชิงวิเคราะห์ตามมาตรฐานสากล เพื่อจะได้นำไปพัฒนาศักยภาพตนเอง เพื่อนำไปสู่การแข่งขันในระดับที่สูงขึ้น และเพื่อความก้าวหน้าในอนาคตของนักเรียนเอง นักเรียนที่ไม่ได้รับรางวัลในวันนี้ยังมีโอกาสพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น การที่นักเรียนทุกคนสามารถผ่านเข้ามาในการแข่งขันระดับชาตินี้ได้ ถือว่านักเรียนทุกคนมีความสามารถสูง เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่ประเทศชาติฝากความหวังไว้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประสบการณ์จากการแข่งขันครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ต่อเพื่อนร่วมชั้น ต่อโรงเรียน และต่อชุมชน เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศต่อไป"

สำหรับการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 17 ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (มูลนิธิ สอวน.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีนักเรียนจากศูนย์ สอวน. ทั่วประเทศ และนักเรียนจาก สสวท. เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 95 คน อาจารย์และครูผู้สังเกตการณ์จากแต่ละศูนย์จำนวน 44 คน พร้อมทั้งมีนักศึกษาพี่เลี้ยงและนักศึกษาช่วยงาน คณาจารย์ และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ประมาณ 300 คน

โดยในการจัดการแข่งขันฯ นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อคัดเลือกนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเข้าร่วมอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ ในโครงการคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ ของ สสวท. แล้ว ยังมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพวิชาการ ทั้งภาคทฤษฎีและทักษะด้านปฏิบัติการ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนและอาจารย์ผู้สอนได้พัฒนาศักยภาพทั้งด้านการเรียนและการสอน และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์จากศูนย์ สอวน. ทั่วประเทศ


.................................................................................................


ผลการแข่งขัน 

1. ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุด
กิตติธัช รัตนวรรณชัย โรงเรียนเทพศิรินทร์

2. ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนสอบภาคทฤษฎีสูงสุด
สรวีย์ บุญมีประกอบ โรงเรียนมหิดลวิทยานุศรณ์

3. ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนสอบภาคปฏิบัติสูงสุด
กิตติธัช รัตนวรรณชัย โรงเรียนเทพศิรินทร์

4. ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคเหนือ
เสฏฐวุฒิ บัวดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

5. ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคใต้
ภารดี พัฒนโกวิท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

6. ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นุชมาศ ศรีมิ่งมงคลกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

7. ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนรวมสูงสุดประจำภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
พาทิศ โชคแสวงการ มหาวิทยาลัยบูรพา

รางวัลเหรียญทอง 10 รางวัล
กิตติธัช รัตนวรรณชัย โรงเรียนเทพศิรินทร์
กมลวรรธ เอกเมธีพันธ์ โรงเรียนเทพศิรินทร์
เจตริน จินตเกษกรรม โรงเรียนเทพศิรินทร์
ธนวัฒน์ ไพศาลขจี โรงเรียนเทพศิรินทร์
นภวัต ตันติศิริวัฒน์ โรงเรียนเทพศิรินทร์
ปัณณธร จำรูญฤทธิ์ โรงเรียนเทพศิรินทร์
เป็นธรรม สินธุเสน โรงเรียนเทพศิรินทร์
ภูวเดช เหล่าผดุงรัชกร โรงเรียนเทพศิรินทร์
สรวีย์ บุญมีประกอบ โรงเรียนมหิดลวิทยานุศรณ์
อาทิตยา สิมะอารีย์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุศรณ์

เหรียญเงิน 20 รางวัล
กิตติกร วิลาศรัศมี โรงเรียนเทพศิรินทร์
จินต์ภาณี ดวงอุดม โรงเรียนเทพศิรินทร์
ชยภัทร ธรรมรักษ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชัชพิมุข ลือขจร โรงเรียนมหิดลวิทยานุศรณ์
ชินดนัย นามวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฐิตารีย์ สุกาวิระ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ฐิติสุทธิ์ ศรีสุธาสินี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ณัชธฤต กิติทวีเกียรติ โรงเรียนเทพศิรินทร์
ณัฐภัทร ปัญญสังข์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เดชาวัต เชวงมหาปีติ โรงเรียนมหิดลวิทยานุศรณ์
ตะวัน มงคลวิริยะ โรงเรียนเทพศิรินทร์
ทัพไทย ไชยหงษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นุชมาศ ศรีมิ่งมงคลกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เบญญาวัธน์ ก้องนาวา โรงเรียนมหิดลวิทยานุศรณ์
พาทิศ โชคแสวงการ มหาวิทยาลัยบูรพา
พีรพล มะโนภักดิ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ภารดี พัฒนโกวิท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รวีวิชญ์ แอ่งขุมทรัพย์ โรงเรียนเทพศิรินทร์
เสฏฐวุฒิ บัวดี มหาวิทยาลัยนเรศวร
ณฐพล พึ่งตัวเอง โรงเรียนเทพศิรินทร์

เหรียญทองแดง 30 รางวัล
กฤษฏิ์ รัตนบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
กวีรภัทร์ ไชยไธสง โรงเรียนมหิดลวิทยานุศรณ์
คนธรส ปทุมวรรณ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คีตพัช ธรรมปัญญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฆนัท บุญจง มหาวิทยาลัยบูรพา
จิรภัทร สุวรรณโน มหาวิทยาลัยบูรพา
ชนิกานต์ ไชยสัตย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชยณัฐ คงตรีแก้ว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ชัชพิมุข มะลิวัลย์ โรงเรียนเทพศิรินทร์
ชัญญานุช อดิศรพงศ์พันธุ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชารีฟ ศรีศรยุทธ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ณรัชด์ มานะสัมพันธ์สกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณัฐภัทร ทองจีน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ณัฐวศา กล่อมแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณิษา คงวรรัตน์ โรงเรียนเทพศิรินทร์
ติณณ์ บุญทรง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ธนพัฒน์ เข็มกลัด มหาวิทยาลัยศิลปากร
ธนรัตน์ เข็มกลัด มหาวิทยาลัยศิลปากร
ธนารักษ์ เข็มกลัด มหาวิทยาลัยศิลปากร
ธีราธร คุ้มสุพรรณ โรงเรียนเทพศิรินทร์
นงนภัส เตชนันท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นราวิชญ์ จู่วัฒนาพงศ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เบญจรัตน์ แสงอังคนาวิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ปภาวดี อภิวันทนกุล มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พิมพ์มาดา จุนเจริญวงศา มหาวิทยาลัยบูรพา
ภัทรา หมั่นการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รดา ปากันทะ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ศตพล เพชรประดับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
อภิชญา มาลัยศิริรัตน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปรีชญา นราประเสริฐกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


นักเรียนค่าย สสวท.
กันตวิชญ์ ปิยนิรันดร์ ทอง
พัทธดนย์ เศวตปิยะกุล เงิน
ภูมิปัญญา ชัยศรีสวัสดิ์สุข ทอง
ศักดิพัฒน์ เจียรธเนศ ทองแดง
อสึขิ มัทสึซาว่า ทอง

หมายเหตุ
** ชื่อโรงเรียน คือ ชื่อศูนย์ สอวน. ไม่ใช่ชื่อโรงเรียนที่นักเรียนสังกัด



แกลลอรี่