การประชุมวิชาการ 6th International Conference on Banking and Finance (ICBF) 2019 and Doctoral Colloquium

10 พฤษภาคม 2562

คณะบริหารธุรกิจ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับ School of Economics, Finance and Banking UUM COB, Universiti Utara Malaysia จัดงานประชุมวิชาการ 6th International Conference on Banking and Finance (ICBF) 2019 and Doctoral Colloquium โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีด้านการวิจัย และวิชาการให้กับคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ได้แลกเปลี่ยนความรู้อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลงานวิจัย สร้างสรรค์งานวิชาการที่เข้มแข็ง ยั่งยืน ตอบสนองความต้องการทางสังคม และประเทศชาติต่อไป ระหว่างวันที่ 29 – 31 มีนาคม 2562 ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างการประชุมดังกล่าวมีกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านวิชาการการเงิน

โดยวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2562 เป็นกิจกรรม Colloquium โดย Associate Professor Dr. Peter Szilagyi และ Professor Dr. Jonathan A. Batten กิจกรรมดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยทั้งสอง

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2562 รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Professor Dr.Russayani Bt Ismail, Dean of School of Economics, Finance and Banking, Universiti Utara Malaysia สหพันธรัฐมาเลเซีย ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุมฯ พร้อมด้วย Keynote Speech and Dialogue Session คือ Professor Dr. Jonathan A. Batten CIMB-UUM Chair Professor, Universiti Utara Malaysia สหพันธรัฐมาเลเซีย Professor Jonathan ซึ่งเป็นบรรณาธิการของวารสารการเงิน tier Q1 Elsevier ถึง 3 เล่ม ได้เล่าให้ฟังถึงแนวทางการทำวิจัยด้านการเงินสมัยใหม่ ว่างานวิจัยด้านการเงินมีแนวโน้มเปลี่ยนไปที่จะมองเห็นความสำคัญของตลาดเกิดใหม่มากขึ้นเห็นความสำคัญของการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น หัวข้อด้าน Energy Finance เป็นต้น

นอกจากนั้้น Professor Jonathan ยังได้อธิบายถึงรูปแบบการสอนจริยธรรม ในสถาบันการศึกษาที่เห็นจริยธรรมระดับสถาบันหรือองค์กรมากกว่าตัวบุคคลอาจจะไม่พอเพียงในการกำกับดูแลจริยธรรมเพราะที่ผ่านมายังมีประเด็นข่าวการทุจริตเกิดขึ้นเสมอ การสอนจริยธรรมจึงควรมุ่งเน้นในการปลูกฝังจิตสำนึกระดับบุคคลให้มากขึ้น

Session ต่อมาคือ และ Session with Bloomberg’s Editor-at-Large: “Making Big Data Simple for Students and Storytellers” โดย Professor Dr. Lee Miller จาก Tsinghua University สาธารณรัฐประชาชนจีน ใน Session นี้ Professor Dr. Lee ได้ชี้ให้เห็นว่าข่าวหรือข้อมูลที่ถ่ายทอดในโลกนี้มักเป็นข่าวที่ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นข่าวที่ปราศจากข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงสนับสนุน การบรรยายของ Professor Dr. Lee ให้กับนักศึกษาปริญญาเอก ปริญญาโท และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทำให้เห็นว่าการเล่าเรื่องการสื่อสารที่ดีจะต้องมีข้อมูลเชิงลึกประกอบ กิจกรรมนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับผู้ฟังในการประชุมครั้งนี้

กิจกรรมในช่วงบ่ายประกอบด้วยการนำเสนอผลงานวิชาการ Parallel Session 1-2 โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อ ดังนี้ 1) Corporate Finance 2) Investment 3) Small Business และ 4) Economics การนำเสนองานวิจัยวิชาการด้านการเงินใน 4 ประเด็นนี้ ได้จัดขึ้นทั้งวันคือในช่วงบ่ายของวันที่ 30 และตลอดวันที่ 31 มีนาคม 2562 ในการนำเสนอมีหัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจหลายเรื่อง อาทิ

“Multifractals and technical trading rules: a case of S&P/NZX 20 Index constituents” เขียนโดย Safwan Mohd Nor, University of Malaysia Terengganu & Syed Jawad Hussain, Montpellier Business School
“Understanding the two-way relationship between the ASX and NZX indexes: A vector threshold autoregressive modeling approach” เขียนโดย Johnny Siu-Hang Li, The University of Melbourne; Andrew Cheuk-Yin Ng, The Chinese University of Hong Kong & Wai-Sum Chan, The Chinese University of Hong Kong
“Intraday Price Reversals of SET50 Index Futures and S&P 500 Futures” เขียนโดย Teddy Ericson, Chiang Mai University; Ravi Longkani, Chiang Mai University & Chanon Chingchayanurak, Chiang Mai University
“Factors Determining Successful ICO” เขียนโดย Rawisara Thalaengkij, Thammasat University & Arnat Leemakdej, Thammasat University


ซึ่งผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://www.icbf-uum.com

วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2562 ยังได้จัดกิจกรรม Industrial Forum: “Promoting SDG by Fostering Green Finance in Asia” โดยมี Professor Dr. Jonathan A. Batten เป็นผู้ดำเนินรายการ Associate Professor Dr. Peter Szilagyi และ Dr. Pongsak Hoontrakul เป็นผู้ร่วมอภิปราย การเสวนาเป็นการให้ความรู้ว่าวิชาการด้านการเงิน จะมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมของโลกได้อย่างไร

สำหรับหัวข้อสุดท้ายคือ Meet Journal Editor ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีผู้สนใจมาก เพราะเป็นการให้ความรู้ในเรื่องแนวทางการตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยโดยผู้บรรยายทั้ง 3 ท่าน คือ Dr. Jonathan, Dr. Peter และ Professor Dr. Wai-san Chan เป็นถึงบรรณาธิการหลักของวารสารการเงินระดับโลกของ Elsevier และ Taylor- Fransis ถึง 5 ฉบับ กิจกรรมดังกล่าวจึงถือเป็นกิจกรรมประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อผู้ฟังและต่อคณาจารย์การเงินจากทั้งโลกที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้

ตลอดการประชุมผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความรู้สึกประทับใจต่อการจัดการประชุมของคณะบริหารธุรกิจครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างคุณค่าให้กับวิชาการและเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับวิชาการด้านการเงินของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่