นักวิจัยคณะวิทย์ มช. ร่วมกับทีมแพทย์ มช.
พัฒนาวิธีการ และการปรับปรุงโครงสร้างโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน 3 มิติ แบบขนาน
พร้อมต่อยอดสู่เครื่องมือช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีภาวะบาดเจ็บทางสมอง
โดยเฉพาะผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน
นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันศึกษาวิจัยในหัวข้อ "Automatic hemorrhage segmentation on head CT scan for traumatic brain injury using 3D deep learning model" เพื่อพัฒนาวิธีการและปรับปรุงโครงสร้างโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (convolutional neural network, CNN) 3 มิติแบบขนาน ซึ่งเป็นโมเดลการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับใช้ในการตัดแยกบริเวณเลือดออกในสมองแต่ละประเภทบนภาพ CT scan ของผู้ป่วยอุบัติเหตุ
วิธีการที่ทีมวิจัยนำเสนอนี้ สามารถให้ค่า Dice similarity coefficient มากกว่า 0.37 สำหรับเลือดออกแต่ละประเภท โดยผลลัพธ์ที่ได้มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการอื่นๆ ที่ใช้สำหรับแก้ปัญหาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือช่วยรังสีแพทย์สำหรับวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีภาวะบาดเจ็บสมอง โดยเฉพาะผู้ประสบอุบัติเหตุทางท้องถนนที่มีจำนวนมากในประเทศไทย ซึ่งจะสามารถช่วยลดระยะเวลาและแรงงานในการวิฉัยผู้ป่วยลง ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Computers in Biology and Medicine
Volume 146, July 2022
ผู้สนใจอ่านบทความวิจัยได้ที่ https://doi.org/10.1016/j.compbiomed.2022.105530
รายชื่อนักวิจัย
ผศ.ดร.ปภังกร อิ่นแก้ว โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยวิทยาการข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์
รศ.พญ.สลิตา อังกุระวรานนท์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์
ผศ.ดร.นพ.ปิยพงษ์ คำริน ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์
ผศ.นพ.นครินทร์ อินมุตโต ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์
รศ.ดร.ภัทรินี ไตรสถิตย์ ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์
รศ.ดร.จีรยุทธ ไชยจารุวณิช ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์
ผศ.ดร.นพ.ชัยสิริ อังกุระวรานนท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์
ศ. (เชี่ยวชาญพิเศษ) พญ.อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์