CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
“อุบัติเหตุ” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ “ตาบอด”
6 ตุลาคม 2563
คณะแพทยศาสตร์
“อุบัติเหตุ” ใคร ๆ ก็ไม่อยากให้เกิดกับตัวเอง หรือลูกหลานญาติพี่น้อง เพราะคำว่า “อุบัติเหตุ” ฟังแล้วชวนให้หดหู่ใจ ยิ่งเป็นอุบัติเหตุทางตาอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้เลยทีเดียว อุบัติเหตุกับดวงตาจัดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะ“ตาบอด”ที่ป้องกันได้ในทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาเมื่อมีการบาดเจ็บต่อดวงตาจะส่งผลกระทบทั้งทางจิตใจและเศรษฐานะของทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว เพราะต้องขาดเรียน ขาดงาน ขาดรายได้ หากตาบอดอาจต้องเสียงาน และยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการดูแลรักษาเป็นระยะเวลานานอีกด้วย
อุบัติเหตุต่อดวงตาแบ่งตามสาเหตุของการเกิดการบาดเจ็บได้ดังนี้ 1.อุบัติเหตุจากการทำงาน 2.อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือจากการขับขี่ยานพาหนะ 3.อุบัติเหตุจากการทะเลาะวิวาท 4.อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา 5.อุบัติเหตุจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าแบ่งชนิดของอุบัติเหตุตามลักษณะของการบาดเจ็บหรือบาดแผล จะแบ่งออกได้เป็น 1).การบาดเจ็บที่ไม่ได้เกิดจากการถูกกระทบกระแทก ซึ่งได้แก่การโดนสารเคมีเข้าตาจากความร้อนหรือรังสี 2).การบาดเจ็บที่เกิดจากการถูกกระทบกระแทก ซึ่งแบ่งออกได้เป็นการบาดเจ็บต่อลูกตา ได้แก่ 1).ผนังลูกตาฉีกขาดเป็นแผลเปิดทะลุ หรือตาแตก ซึ่งมักเกิดจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรงต่อดวงตา หรือถูกทิ่มแทงทะลุโดยของมีคม 2).ผนังลูกตายังไม่ฉีกขาดไม่ทะลุ ได้แก่ การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบดวงตา
การปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อได้รับอุบัติเหตุทางตา อันดับแรกให้สังเกตว่าผนังลูกตามีการฉีกขาดหรือไม่ หากมีอาการตามัว เจ็บตาปวดตาอย่างรุนแรง มีเลือดออกที่ตาขาวปริมาณมากจนบวมแดง ตาดำผิดรูปร่าง มีสิ่งแปลกปลอมทิ่มแทงคาอยู่ในตา มีเลือดไหลออกจากตา อาการเหล่านี้แสดงว่ามีผนังลูกตาฉีกขาดควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที และไม่ควรขยี้ตา ไม่ควรใช้น้ำล้างตา ห้ามเขี่ยหรือดึงสิ่งแปลกปลอมออกจากตาโดยเด็ดขาด แต่หากเป็นกรณีที่ถูกสารเคมีเข้าตา ควรรีบล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆทันที แล้วรีบไปพบจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุด
หากโดนสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กเข้าตา เช่น ฝุ่นผง หรือแมลง อย่าขยี้ตา ให้ล้างตาหรือลืมตา กลอกตาไปมาในน้ำสะอาดเพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออก หากส่องกระจกหรือพลิกเปลือกตาแล้วเห็นสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ชัดเจน อาจใช้ปลายผ้าสะอาดพับเป็นมุมแล้วลองเขี่ยออกเบาๆได้ หากไม่หลุดออกหรือยังมีอาการเคืองตามากให้ไปพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
การป้องกันดวงตาไม่ให้ได้รับอุบัติเหตุทำได้โดย 1.ใส่แว่นตาป้องกันเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตัดหญ้า ตอกตะปู เชื่อมเหล็ก ควรสวมแว่นที่เหนียวและแข็งแรงไม่แตกง่าย ทำจากวัสดุที่เป็นโพลี่คาร์บอเนทและคลุมได้รอบดวงตา 2.หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ในที่ที่มีการก่อสร้าง เป็นต้น ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมแว่นตาป้องกันอุบัติเหตุ 3.ไม่ขับรถขณะมึนเมา 4.ไม่ทะเลาะวิวาทกัน
อุบัติเหตุส่วนมากสามารถป้องกันได้ถ้าไม่ประมาท และสวมใส่แว่นตาป้องกันทุกครั้งหากต้องทำงานในอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง แว่นตาที่ใส่ควรเป็นวัสดุที่ทำจากโพลี่คาร์บอเนททนทานต่อแรงกระทบกระแทก หากเกิดอุบัติเหตุทางตาควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที การรักษาที่ถูกต้องทันเวลาอาจช่วยการมองเห็นให้กลับคืนมาได้แม้อาจจะไม่ดีเท่าเดิม ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของอุบัติเหตุ
ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อแว่นนิรภัยกันตาบอด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางตาที่เกิดจากการทำงาน ผลิตจากวัสดุโพลี่คาร์บอเนท เหนียว และแข็งแรงไม่แตกง่าย ได้ที่ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. โดยสามารถร่วมบริจาคเพื่อจัดซื้อแว่นนิรภัยกันตาบอด ผ่านบัญชี eye CMU run for sight ของภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. ผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 408-412094-9 ชื่อบัญชี eye CMU run for sight โทร. 063-9128970 (ใบเสร็จสามารถลดหย่อนภาษีได้)
ข้อมูลโดย ผศ.พญ.เหมือนพลอย นิภารักษ์ อาจารย์ประจำหน่วยกระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช.
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: