CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ เปิดตัวห้องสวนหัวใจและหลอดเลือด (CATH LAB) และห้องเอ็มอาร์ไอหัวใจ (CARDIAC MRI) ภายในห้องฉุกเฉินระบบดิจิตอล ครบวงจร ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ (ONE-STOP-SERVICE ER)
3 ตุลาคม 2566
คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดตัวห้องสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cath Lab) และห้องเอ็มอาร์ไอหัวใจ (Cardiac MRI) ภายในห้องฉุกเฉินระบบดิจิตอล ครบวงจร ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ (One-Stop-Service ER) เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค
ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “การนำเครื่องสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cath Lab) เข้ามาให้บริการภายในห้องฉุกเฉิน รวมถึงการติดตั้งเครื่องเอ็มอาร์ไอหัวใจ (Cardiac MRI) ในพื้นที่บริเวณห้องฉุกเฉินที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ถือเป็นการให้ความสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือระดับเร่งด่วนเพราะทุกนาทีคือชีวิต และทุกช่วงชีวิตมีค่า ซึ่งตรงกับพันธกิจในการยกระดับสุขภาวะของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการที่ดีขึ้น และความเป็นเลิศของการบริการของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่ง ที่จะมอบส่งการบริการที่มีคุณภาพ และศักยภาพระดับสูง ให้แก่ผู้รับบริการทุกท่าน ซึ่งผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคหัวใจ ณ ห้องฉุกเฉินปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะสามารถใช้ห้องนี้ในการรองรับผู้ป่วยวิกฤต ที่เพิ่มขึ้น เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตโดยผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำสูง และปลอดภัยสูงสุดเพิ่มอัตราการรอดชีวิตผู้ป่วยกลุ่มนี้”
ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า “จากเดิมห้องสวนหัวใจ ตั้งอยู่ ณ บริเวณชั้น 8 อาคารศรีพัฒน์ เมื่อมีผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยโรคหัวใจ การตรวจรักษา รวมถึงการวินิจฉัยและการเคลื่อนย้ายมายังห้องสวนหัวใจเป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ย ประมาณ 10-15 นาที ในภาวะที่ผู้ป่วยไม่แออัดมาก แต่ทุกนาทีของผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องหัวใจขาดเลือดมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตอย่างมาก การสร้างห้องสวนหัวใจและหลอดเลือด ในพื้นที่ห้องฉุกเฉินนั้น จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว และช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ในทันที
เพื่อประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้ป่วยอาการไม่คงที่ หรือที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน จะได้รับการรักษาทันที หากช่วยได้เร็วโอกาสในการรอดชีวิตจะมีมากขึ้น โดยความพร้อมในด้านบุคลากรทางการแพทย์ มีอาจารย์แพทย์เฉพาะทางด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้บริการตลอดเวลา นับว่าเป็นห้องฉุกเฉินที่ให้บริการแบบครบวงจรอย่างแท้จริง
นอกจากมีเครื่องสวนหัวใจและหลอดเลือดในห้องฉุกเฉินแล้ว ยังได้ทำการติดตั้งเอ็มอาร์ไอหัวใจ (Cardiac MRI) ในพื้นที่บริเวณด้านข้างห้องฉุกเฉิน เพื่อความสมบูรณ์ในการให้บริการ และในขณะที่ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด หากมีเหตุฉุกเฉินสามารถให้ความช่วยเหลือโดยใช้อุปกรณ์ที่เตรียมความพร้อมเพื่อช่วยชีวิตภายในห้องสวนหัวใจ และสามารถเรียกแพทย์ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญจากห้องฉุกเฉิน เข้ามาทำการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อีกด้วย นับเป็นความปลอดภัยขั้นสูงสุดสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นอกจากนี้ในอนาคตยังสามารถใช้เครื่องดังกล่าวเพื่อช่วยห้ามเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกจากการบาดเจ็บของอวัยวะภายในได้อีกด้วย”
ด้าน รศ.ดร.นพ.บวร วิทยชำนาญกุล หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “ภาวะผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเป็นภาวะที่พบได้บ่อย และเป็นภาวะที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 10 การวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็วนั้นต้องอาศัยทีมแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญเป็นแพทย์เฉพาะทาง ประกอบกับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และเรามีอาจารย์แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจที่อยู่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง ที่คอยให้คำปรึกษาแพทย์ที่อยู่ห้องฉุกเฉิน ดังนั้นเมื่อมีทีมแพทย์ และห้องสวนหัวใจในพื้นที่ห้องฉุกเฉิน อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยจะสูงขึ้น ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลครบวงจร และสามารถลดอัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพลงได้”
ผศ.ดร.พญ.พรรณนิภา สุวรรณสม อาจารย์ประจำหน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “ในปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันจำนวนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนเมือง อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณสูง ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น
ในผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะเสียชีวิตจากการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจล้มเหลว และภาวะช็อค หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นานเพียงพอเป็นระดับวันก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตั้งแต่การเกิดลิ้นหัวใจรั่ว หรือกล้ามเนื้อหัวใจทะลุได้ หลายท่านอาจเคยได้ยิน แคมเปญในการรณรงค์ที่ว่า เมื่อมีอาการแน่นหน้าอก ผู้ป่วยต้องรีบมายังโรงพยาบาล เพราะการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันนั้นมีความเร่งด่วน นับเป็นนาที ดังนั้นเมื่อมายังห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจคลื่นหัวใจและแปลผลเบื้องต้นให้ได้เร็วที่สุดภายใน 10 นาที ต้องได้รับการเปิดหลอดเลือด ภายใน 90 นาที หากอยู่ในโรงพยาบาลที่สามารถเปิดห้องสวนหัวใจได้ จะเห็นได้ว่ามาตรฐานการรักษาผู้ป่วยในภาวะดังกล่าววัดกันเป็นหลักนาที เพราะทุกนาทีที่ผ่านไปหมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจที่ตายเพิ่มขึ้น หากรักษาได้เร็ว ผู้ป่วยจะได้รับความเสียหายจากการตายของกล้ามเนื้อหัวใจที่ลดลง
ดังนั้น ความจำเป็นของการจัดตั้งห้องสวนหัวใจ ในพื้นที่ห้องฉุกเฉินก็เพื่อให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูง ลดอัตราการเสียชีวิตได้ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ให้การปรึกษาผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันกับโรงพยาบาลในเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง โดยรับปรึกษาผู้ป่วยกว่า 900 รายต่อปี และผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับ การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจเร่งด่วนกว่า 400 รายต่อปี การมีห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดในพื้นที่เดียวกับห้องฉุกเฉินจะทำให้สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็วทั้งต่อผู้ป่วยที่มาตรวจยัง รพ.มหาราชนครเชียงใหม่โดยตรง และผู้ป่วยที่รับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลเครือข่าย”
สุขภาพ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: