วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก้าวทันเทรนด์ พร้อมเปลี่ยนผ่าน จับมือผู้ประกอบการทั่วไทย พัฒนาบุคลากรสู่ตลาดแรงงานดิจิทัล รับมือโลกแห่งอนาคต

1 กุมภาพันธ์ 2562

วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี

เทรนด์สายงานดิจิทัลกำลังมา! เจาะลึกหลักสูตร อุตสาหกรรมดิจิทัล การันตีมีงานทำแน่นอน

เพราะยุคนี้คือยุคแห่งการ "ดิสทรับชั่น" รูปแบบของการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรม ผู้ประกอบการรายใหญ่ รายย่อย หรือแม้แต่ขายปลีก ก็ล้วนถูกคลื่นแห่งการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “การดำเนินธุรกิจแบบดิจิทัล” และสิ่งที่ประเทศไทยยังขาดแคลนที่สุดก็คือ “บุคคลากรมีศักยภาพและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านนี้”

ซึ่งคลื่นการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ ก็สอดคล้องกับข้อมูลแนวโน้มการจ้างงานและการคัดสรรบุคลากรของตลาดโลกที่ระบุว่า “หนึ่งในทักษะและตำแหน่งงานที่ตลาดโลก กำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็คือ บุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัล” ไม่ว่าจะเป็น

  • Front-end Developer
  • Back-end Developer
  • Full stack Developer
  • AI Engineer
  • Mobile Developer

และถ้าจะพูดกันตามข้อมูลแล้ว ประเทศไทยของเรากำลังขาดบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในตำแหน่งเหล่านี้ รวมทั้งสายงานด้านดิจิทัลเป็นจำนวนมาก โดยอ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2559 ระบุว่า ยังขาดแคลนแรงงานด้านนี้อยู่ถึง 17,674 คน เลยทีเดียว

วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก้าวทันเทรนด์ พร้อมเปลี่ยนผ่าน จับมือผู้ประกอบการทั่วไทย พัฒนาบุคลากรสู่ตลาดแรงงานดิจิทัล รับมือโลกแห่งอนาคต

อ้างอิงจากข้อมูลเชิงสถิติ และบวกกับความต้องการของผู้ประกอบการที่ขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัล “วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ที่มีความพร้อมและมีการเรียนการสอนเน้นทางด้านดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้และพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้ สร้างหลักสูตรบูรณาการอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industry Integration: DII) ขึ้น โดยมีความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตร่วมกับภาคภาคอุตสาหกรรม โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดยมีบริษัทชั้นนำด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลที่เข้าร่วมโครงการ (MOU) ไม่ว่าจะเป็น

  1. บริษัท เชียงใหม่ ลานนา บิสซิเนส จำกัด (CLBS) (https://www.clbs.co.th/)
  2. บริษัท อาร์ติซาน ดิจิตอล เอเชีย จํากัด (https://artisan.co.th/)
  3. บริษัท AppMan จำกัด (https://www.appman.co.th/)
  4. บริษัท เอ-แวลลู จำกัด (https://www.avalue.co.th/)
  5. บริษัท อินเนอร์จี แล็บ จำกัด (http://innergylab.com/)


ทั้งความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เกิดความรู้และทักษะที่ตรงตามความต้องการจริง และเป็นปัจจุบัน รวมไปถึงตัวนักศึกษาเองก็จะได้ การร่วมพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านดิจิทัลไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มีคุณธรรมและจริยธรรมอีกด้วย

ภายใต้รูปแบบหลักสูตรดังต่อไปนี้

  1. เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี
  2. เป็นหลักสูตรร่วมผลิตบัณฑิต ที่มีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยมีผู้เชี่ยวชาญจริงจากภาคอุตสาหกรรมมาร่วมคัดเลือกผู้เรียน และร่วมสอน
  3. มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Module และจัด Boot Camp เพื่อเตรียมทักษะที่ตรงกับความต้องการอุตสาหกรรมให้กับนักศึกษาอย่างรวดเร็ว
  4. นักศึกษามีการเรียนแบบบูรณาการระหว่างการเรียนเชิงทฤษฎีในมหาวิทยาลัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริงในอุตสาหกรรม (Work Integrated Learning: WIL) ทำให้ผู้เรียนมีทั้งความรู้และประสพการณ์ทำงานไปพร้อมกัน
  5. 5.มีการจัดการเรียนการสอนที่ความพัฒนาขึ้นมาตามความต้องการจริงของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

สรุปให้ใน 5 ข้อ เรียนหลักสูตร Digital Industry Integration แล้วได้อะไร ?

  1. เรียนหลักสูตร DII แล้วได้ “ก้าวสู่การเป็นบุคลากรแห่งโลกอนาคต” แน่นอน ด้วยเนื้อหาและเป้าหมายหลักของหลักสูตร ที่อัดแน่นครอบคลุมองค์ความรู้ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนา”ทักษะของศตวรรษใหม่” ที่เป็นที่ต้องการของโลกของธุรกิจแบบดิจิทัล
  2. เรียนหลักสูตร DII แล้ว “มีงานทำ” เนื่องจากอุตสาหกรรมดิจิทัลมีความต้องการกำลังคนที่สูงมาก และหลักสูตร DII ที่พัฒนาบุคลากรร่วมกับผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ที่จบในหลักสูตร DII มีความรู้และทักษะที่เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม นอกเหนือจากนี้ หลักสูตร DII เป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด โดยมีรายละเอียดดังนี้
    • อยู่ในสถานะพนักงานงานของบริษัท โดยได้รับเงินเดือนในระหว่างที่ศึกษาอยู่
    • ได้รับเงินค่าจ้าง ตั้งแต่ปีการศึกษาปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ประมาณ 5,000 บาท/เดือน (เรียนและทำงานควบคู่กัน)
    • สัญญาทำงานต่อ 1 – 2 ปี หลังจบหลักสูตร (ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างนักศึกษากับบริษัท)
  3. เรียนหลักสูตร DII แล้วได้ “ทำงานเป็น” แน่นอน อีกหนึ่งจุดเด่นของหลักสูตรที่ เน้นสร้างบัณฑิตที่มีศักยภาพในการทำงานได้ในระหว่างการเรียน ผ่านการเรียนแบบบูรณาการระหว่างการเรียนเชิงทฤษฎีในมหาวิทยาลัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริงในอุตสาหกรรม (Work Integrated Learning: WIL)
  4. เรียนหลักสูตร DII แล้วได้ “สังคมที่ดี สังคมแห่งการเรียนรู้ไม่จบสิ้น” แน่นอน เพราะ มหาลัยเชียงใหม่ขึ้นชื่อเรื่องของบรรยากาศดี อุดมไปด้วยธรรมชาติสีเขียว สบายตา และไม่ไกลจากเมือง พร้อมด้วยการต้อนรับเป็นอย่างดีของทั้งบุคลากร รุ่นพี่มหาลัย ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้อยู่สังคมที่ดี ไม่แพ้ที่ไหนๆ

กำหนดการรับสมัคร

  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 18 มีนาคม 2562 เปิดรับสมัครนักเรียนที่สนใจผ่านระบบ
  • วันที่ 19 มีนาคม 2562 เข้าร่วม Work Shop ร่วมกับสถานประกอบการและเลือกบริษัทที่จะเข้าร่วมทำงาน
  • วันที่ 20 มีนาคม 2562 สัมภาษณ์ร่วมกับสถานประกอบการ
  • วันที่ 27 มีนาคม 2562 เซ็นสัญญาร่วมกับสถานประกอบการ
  • วันที่ 31 มีนาคม 2562 ประกาศผลผ่านการคัดอย่างเป็นทางการ

ติดตามรายละเอียดหลักสูตรและการรับสมัครได้ที่ : http://www.camt.cmu.ac.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมอัพเดทเรื่องราวได้ที่ : group ของ DII CAMT https://bit.ly/2D2FCYr




แกลลอรี่