คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช. ร่วมกับ สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ จัดโครงการ การจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม "วัฒนธรรมช้างเลี้ยงพื้นถิ่นล้านนา" สู่การจารึกเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อทำการรวบรวมบันทึกและเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับ“ภูมิปัญญาการเลี้ยงช้างไทยแบบองค์รวม” (ถิ่นเหนือล้านนา) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568

7 กรกฎาคม 2568
คณะสัตวแพทยศาสตร์
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 สำนักวิชาสัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ โดย ผศ. ดร. น.สพ.เฉลิมชาติ สมเกิด ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกายภาพ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดโครงการ การจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม "วัฒนธรรมช้างเลี้ยงพื้นถิ่นล้านนา" สู่การจารึกเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท เชียงใหม่ ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณกิตติพร ใจบุญ ผู้อำนวยการกองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมทั้ง ดร.น.สพ.ทวีโภค อังควานิช คุณสมชาติ ช่างการ สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ และ คุณธนภูมิ อโศกตระกูล เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร ปางช้างแม่แตง ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ซึ่งหัวข้อการบรรยาย เกี่ยวกับ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : การส่งเสริมและการรักษามรกดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ร่วมถึงการดำเนิการผลักดัน การเตรียมตัวขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (ระดับจังหวัด) โดยมีผู้สนใจเข้าร่วม จำนวน 44 ราย จากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิเช่น ปางช้างเอกชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน บริษัทท่องเที่ยว บุคคลทั่วไป ฯลฯ

โครงการ การจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม "วัฒนธรรมช้างเลี้ยงพื้นถิ่นล้านนา" สู่การจารึกเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ได้รับการสนับสนุนจาก แผนปฏิบัติการ (Action Plan : AP) แผนงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม งานทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม / กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ (ACCL) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ ที่ร่วมกันจัดโครงการดังกล่าวขึ้นมา เพื่อทำการรวบรวมบันทึกและเผยแพร่องค์ความรู้ เกี่ยวกับ“ภูมิปัญญาการเลี้ยงช้างไทยแบบองค์รวม” (ถิ่นเหนือล้านนา) ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อเป็นฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยสร้างการรับรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้การเลี้ยงช้างไทย อีกทั้งช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมที่ผ่านทางวัฒนธรรมช้างเลี้ยงของไทย

แกลลอรี่