CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทย์ มช. จัดงาน “MS&T Deep-Tech Start Up Forum and Innovation Showcase 2020”
6 กุมภาพันธ์ 2563
คณะวิทยาศาสตร์
ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพจัดงาน “MS&T Deep-Tech Start Up Forum and Innovation Showcase 2020” เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ณ Empress Premier Hotel Chiang Mai โดยได้รับเกียรติจากนายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน รศ.ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน และ ผศ.ดร.วินิตา บุณโยดม หัวหน้าศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดงาน ซึ่งมีผู้บริหารของคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย ศ.ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน
“MS&T Deep-Tech Start Up Forum and Innovation Showcase 2020” เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่งานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยแผนงานบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม โครงการนวัตกรรมวัสดุสู่อุตสาหกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือทางการวิจัย ระหว่างอาจารย์/นักวิจัย มหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจ ภาคเอกชน Venture Capital รวมทั้งแหล่งทุนที่สำคัญ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์มหาวิทยาลัยในยุค Disruption ได้นำงานวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการไปใช้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบายรัฐบาล ทราบแนวทางการ transform สู่การเป็นนักวิจัยสายประกอบการ (Entrepreneurial Researcher) ที่เป็นฐานของ Entrepreneurial University รวมทั้งแนวทางการร่วมมือจาก Venture Capital ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน รวมทั้งแหล่งทุนที่สำคัญ โดยจัด Talks แชร์ประสบการณ์การจัดตั้ง Deep Tech Startup รวมทั้งจัดบูทโชว์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน เพื่อหาตลาดให้ Startups และช่วยสร้าง Ecosystem ของผู้ประกอบการใหม่
งานดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการจุดประกายการนำงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ และเป็นเวทีเพื่อนักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถแลกเปลี่ยนแนวคิดในการนำงานวิจัยสู่การใช้งานจริง อีกทั้งสามารถนำความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีและการนำมาประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานนี้จะมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องกับงานวัสดุศาสตร์แบบบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวัสดุทางการแพทย์ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในแง่ของบุคลากรและความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงานวิจัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในสร้างและพัฒนาอาจารย์และนักวิจัยรุ่นใหม่ในงานวิจัยแบบบูรณาการทางวัสดุศาสตร์ของประเทศไทยและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ ของประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้งานวิจัยทางด้านนี้ของประเทศมีความก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติต่อไป
ข้อมูลโดย ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยี
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: