CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
สารจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง วิกฤตหมอกควันต่อภาวะสุขภาพประชาชน
3 เมษายน 2566
คณะแพทยศาสตร์
สถานการณ์วิกฤตหมอกควันที่เกิดขึ้นอย่างหนักในทุกพื้นที่ของภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ขณะนี้ มลพิษอากาศฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน มีผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และโรคเยื่อบุตาอักเสบ มีอาการกำเริบ เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 12,671 ราย ( สถิติ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 มีนาคม 2566 ) และยังมีผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ เนื่องจากหอผู้ป่วยเต็มอย่างต่อเนื่อง
ฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมถึง 20 กว่าเท่า เมื่อหายใจเข้าไปแล้ว สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอดและหลอดลมได้ นอกจากนี้ยังมีฝุ่น PM 0.1 ซึ่งเป็นฝุ่นละเอียดขนาดเล็กมาก สามารถทะลวงผ่านถุงลมเข้าสู่ระบบเลือด ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจและสมองอุดตัน หัวใจวาย หลอดเลือดในสมองตีบ หอบหืดกำเริบ รวมทั้งอาการอื่นๆร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
บุคลากรทางการแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความห่วงใยต่อสถานการณ์การวิกฤตหมอกควันภาคเหนือในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงขอให้ประชาชนทุกท่านดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว โดยเริ่มจากตัวท่านเองต้องไม่เผาไม่เป็นต้นเหตุของปัญหาในการทำให้เกิดมลพิษ หมั่นตรวจสอบปริมาณฝุ่น PM2.5 ในอากาศ จากแอปพลิเคชันรายงานดัชนีคุณภาพอากาศหรือเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ
หากระดับเกิน 35 ไมโครกรัม/ลบ.เมตร ประชาชนกลุ่มเสี่ยงควรลดการทำกิจกรรมนอกอาคาร หากระดับเกิน 50 ไมโครกรัม/ลบ.เมตร ควรเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคาร คนทั่วไปควรงดการออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน รวมถึงงดการเข้าร่วมแข่งขันกีฬากลางแจ้งทุกประเภท และหากเกิน 150 ไมโครกรัม/ลบ.เมตร ควรงดการออกนอกอาคาร ปิดประตูหน้าต่างมิดชิด อยู่แต่ภายในบ้าน เปิดเครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กได้
หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านให้สวมใส่หน้ากากที่ป้องกัน PM 2.5 ชนิด N95 และต้องสวมหน้ากากให้ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันอย่างสูงสุด สำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด และหากพบอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น หรือวิงเวียนศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ขอให้ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือมั่นใจว่าแพทย์ พยาบาลและ บุคลากรทางการแพทย์ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมดูแลประชาชนภาคเหนืออย่างเต็มศักยภาพ
ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) นายแพทย์บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 31 มีนาคม 2566
สุขภาพ
ข่าวเด่น
ข่าวสาร PM2.5
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: