น้ำกัดเท้า โรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม

4 ตุลาคม 2565

คณะแพทยศาสตร์

น้ำกัดเท้า หมายถึง ภาวะที่ผิวหนังบริเวณเท้าเปื่อยลอก มักเกิดจากการแช่ในน้ำเป็นเวลานาน
อาการโรคน้ำกัดเท้า แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
- ระยะแรก ..
ระคายเคือง มีอาการเท้าเปื่อย คัน แสบ ลอก
เป็นระยะที่เป็นมาไม่นาน ไม่มีการติดเชื้อใดๆ
- ระยะติดเชื้อแบคทีเรีย ..
มีอาการผื่นบวมแดง มีหนอง ปวดมีรอยแผลเปื่อยที่ผิวหนัง ควรล้างด้วยน้ำเกลือหรือด่างทับทิม ทาแผลด้วยยาฆ่าเชื้อ วันละ 2 - 3 ครั้ง กรณีติดเชื้อรุนแรง หรือในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำควรไปพบแพทย์
- ระยะติดเชื้อรา ..
ผิวหนังเป็นผื่น เปื่อยยุ่ย
ลอกเป็นขุยขาว แสบคัน
มีกลิ่นเหม็น เป็นมานานกว่า 2 สัปดาห์
ควรรักษาโดยใช้ยา ฆ่าเชื้อรา ทาบางๆ วันละ 2-3 ครั้ง
ข้อควรปฏิบัติ
- ใส่ถุงเท้า รองเท้า ที่สะอาดไม่เปียกชื้น
- ล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำสะอาด หลังลุยน้ำและเช็ดเท้าให้แห้ง
- ไม่ใช้ถุงเท้า รองเท้า ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
- ไม่เกาบริเวณที่เป็นแผล


ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
#น้ำกัดเท้า #น้ำท่วม
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU

แกลลอรี่