CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
มช. จับมือ NARIT จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ThaisCube นำผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์จากสถาบันชั้นนำ ให้ความรู้ด้านพหุพาหะฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องแก่นักวิจัยไทย
9 สิงหาคม 2566
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ThaisCube ครั้งที่ 2 เพื่อให้ความรู้ด้านพหุพาหะฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (Multimessenger astronomy) ฟิสิกส์ของนิวตริโน รังสีคอสมิก รังสีแกมมา เครื่องตรวจวัดนิวตริโน และดาราศาสตร์ในช่วงรังสีแกมมา
พิธีเปิดโครงการจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมไอบิสสไตล์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก Professor Albrecht Karle รองผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์และเครื่องมือโครงการวิจัยหอสังเกตการณ์นิวตริโนไอซ์คิวป์ Professor Paul Evenson จาก University of Delaware, Mr.Vedant Basu จาก University of Wisconsin-Madison และ Ms.Chaira Bellenghi จาก Technical University of Munich ซึ่งเป็นนักวิจัยจากโครงการวิจัยหอสังเกตการณ์นิวตริโนไอซ์คิวป์ บรรยายให้ความรู้ร่วมกับนักวิจัยจากประเทศไทย ได้แก่ ผศ.ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ดร.ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อ.ดร.วิรินทร์ สนธิเศรษฐี จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อ.ดร.อเลฮานโดร ซาอีส ริเวรา และผศ.ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.อัจฉรา เสรีเพียรเลิศ จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รวมถึงการพูดคุยทางไกลกับนักวิจัยของโครงการหอสังเกตการณ์นิวตริโนไอซ์คิวป์จากสถานีขั้วโลกใต้
ทั้งนี้ ในพิธีเปิดโครงการ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ศิรามาศ โกมลจินดา ประธานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาดาราศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดโครงการ รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์การพัฒนากำลังคนเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Net Zero) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กล่าวต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมโครงการ และ รศ.ดร.เกศรินทร์ พิมรักษา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากนักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ และนักวิจัย จากสถาบันต่าง ๆ ทั่วประเทศ และจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฟิลิปปินส์เข้าร่วมอบรม
นอกเหนือจากภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการ การฝึกใช้โปรแกรมเพื่อการคำนวนและสร้างแบบจำลองแล้ว ผู้เข้าร่วมยังมีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมเครื่องตรวจวัดนิวตรอนเคลื่อนที่ ChangVan ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งติดตั้งอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ และสถานีตรวจวัดนิวตรอนสิรินธร ของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
การจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ThaisCube ครั้งที่ 2 นี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 11 สิงหาคม พ.ศ.2566 ณ โรงแรมไอบิสสไตล์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โครงการวิจัยยกระดับนักวิจัยไทยเพื่อมีบทบาทสำคัญในภาคีชั้นนำของโลกร่วมกับหอสังเกตการณ์นิวตริโนไอซ์คิวป์ทางด้านอนุภาคพลังงานสูงจากอวกาศ ที่มี ผศ.ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ และศูนย์ฝึกอบรมดาราศาสตร์นานาชาติภายใต้ยูเนสโก (ITCA) ที่ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: