CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
นิ่วในถุงน้ำดี
3 พฤศจิกายน 2563
คณะแพทยศาสตร์
ถุงน้ำดี (Gallbladder) คือ อวัยวะที่อยู่ในบริเวณช่องท้อง มีลักษณะเป็นกระเปาะ ทำหน้าที่เป็นที่พักหรือที่กักเก็บน้ำดีที่ถูกผลิตจากตับ ก่อนส่งต่อน้ำดีไปยังลำไส้เล็กเพื่อทำหน้าย่อยไขมัน โรคนิ่วในถุงน้ำดีมักพบใน ผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 1-2 เท่า (อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป) มักพบในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง รวมถึงอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ได้เช่นกัน
นิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อยที่สุด นิ่วในถุงน้ำดี มี 2 ชนิด ได้แก่
-ชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุด มักมีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว และนิ่วในถุงน้ำดีมักจะประกอบด้วยคอเลสเตอรอลที่ไม่ถูกละลายไปและอาจมีส่วนประกอบของสารอื่น ๆ
- ชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน อาจเป็นสีคล้ำดำ น้ำตาลเข้ม เกิดจากความผิดปกติของเลือด โลหิตจาง ตับแข็ง
นิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคระบบทางเดินทางอาหารที่มักไม่แสดงอาการอย่างชัดเจน หากไม่ได้เกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลันหรือมีการติดเชื้อในช่องท้อง มักตรวจพบในผู้ที่มีการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด แต่เราสามารถสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายที่อาจเป็นสัญญานเตือนของโรคนี้ได้ ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี มักมีอาการหลักจากรับประทานอาหารเข้าไปประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ ชายโครงขวา
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี
- ภาวะอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลมาก เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีเพิ่มขึ้น
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนและการตั้งครรภ์ มีผลเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลและลดการเคลื่อนตัวของถุงน้ำดี ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทน จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้
- กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากขึ้น
หากปล่อยให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ถุงน้ำดีอักเสบจากนิ่ว เป็นสาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบที่พบมากที่สุด อาจเกิดจากก้อนนิ่วในถุงน้ำดี หรือตะกอนของถุงน้ำดี ไปอุดตันทางออกถุงน้ำดี จนทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อ
- ท่อน้ำดีอักเสบ
- ตับอ่อนอักเสบ
- ฝีในตับ
ด้านการรักษา การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีมี 2 แบบ ได้แก่
- ผ่าตัดแบบส่องกล้อง จะเป็นการผ่าตัดที่เจาะเป็นแผลเล็ก ๆ ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ไม่เกิน 4 จุด เพื่อสอดอุปกรณ์ และกล้องเข้าไป ซึ่งการผ่าตัดวิธีนี้จะให้ผลเทียบเท่ากับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แต่จะใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า เจ็บแผลน้อย ลดระยะเวลาในการผ่าตัด จึงฟื้นตัวไว ลดเวลาการนอนในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด นอนดูอาการที่โรงพยาบาลเพียง 1 – 2 วัน
- ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง เป็นวิธีการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนิ่วในถุงน้ำดีอักเสบมาก หรือมีภาวะเป็นหนอง โดยการเปิดช่องท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา การผ่าตัดวิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 4 วัน และต้องพักฟื้นหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์
โรค“นิ่วในถุงน้ำดี” สามารถเกิดได้กับทุกคน และหากปล่อยทิ้งไว้นาน หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆตามมา เนื่องจากโรคนิ่วในถุงน้ำดีมักไม่มีอาการแสดงในระยะเริ่มต้น อีกทั้งอาการคล้ายคลึงกับโรคกระเพาะอาหาร ทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจผิดและซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ไปพบแพทย์ เมื่อปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้
ข้อมูลโดย ผศ.นพ.อานนท์ โชติรสนิรมิต รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ และหัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ ตับ ทางเดินน้ำดี และตับอ่อน คณะแพทยศาสตร์ มช.
ด้วยความปรารถนาดีจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: