นักศึกษาภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับรางวัล จากการนำเสนอผลงานวิชาการ

5 กุมภาพันธ์ 2563

คณะสังคมศาสตร์

คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา จากภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 86 คน ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 18-19 มกราคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

โดยในงานมีตัวแทนนักศึกษาของภาควิชาภูมิศาสตร์ มช. ร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการ และได้รับรางวัลทั้งหมด 11 รางวัล ดังต่อไปนี้

1) รางวัลชนะเลิศ การนำเสนองานวิจัยทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ในโอกาสครบรอบ 30 ปี มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการประชุมวิชาการ TSG # 12 (รางวัลสำหรับสถาบันที่ได้รับคะแนนรวมสูงที่สุด)

2) รางวัลชนะเลิศ งานวิจัยยอดเยี่ยม ประเภท การนำเสนอปากเปล่า (Oral Presentation) สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ประยุกต์
จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “การประยุกต์ใช้ดัชนีภัยแล้งจากข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดสุโขทัย” ของนายณัฐกิตต์ เจ็กอยู่ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์)

3) รางวัลชนะเลิศ งานวิจัยยอดเยี่ยม ประเภท การนำเสนอปากเปล่า (Oral Presentation) สาขาภูมิศาสตร์กายภาพ
จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “การคาดการณ์ความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไหม้ข้าวในพื้นที่เพาะปลูกข้าว ตำบลป่าซาง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยใช้ดัชนีอุณหภูมิพื้นผิวจากภาพถ่ายดาวเทียม” ของนางสาวผกากรอง สมศรี (อาจารย์ที่ปรึกษา: อ.ดร.วาทินี ถาวรธรรม)

4) รางวัลชนะเลิศ งานวิจัยยอดเยี่ยม ประเภทการนำเสนอโปสเตอร์ (Poster Presentation) สาขาภูมิศาสตร์กายภาพ
จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “มวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินของป่าดิบเขาภูหินร่องกล้า” ของนางสาววริสรา ไชยวงค์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ชนิดา สุวรรณประสิทธิ์)

5) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 งานวิจัยยอดเยี่ยม ประเภทการนำเสนอปากเปล่า (Oral Presentation) สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์
จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “ภูมิศาสตร์เบียร์: พื้นที่ของการผลิตและบริโภคคราฟต์เบียร์ My Beer Friend” ของนางสาวอรุณี พริบไหว (อาจารย์ที่ปรึกษา: อ.ดร.ญาณิน จิวะกิดาการ หุยากรณ์)

6) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภทบทความวิจัย สาขาภูมิศาสตร์กายภาพ
จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “การคาดการณ์ความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไหม้ข้าวในพื้นที่เพาะปลูกข้าว ตำบลป่าซาง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยใช้ดัชนีอุณหภูมิพื้นผิวจากภาพถ่ายดาวเทียม” ของนางสาวผกากรอง สมศรี (อาจารย์ที่ปรึกษา: อ.ดร.วาทินี ถาวรธรรม)

7) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทบทความวิจัย สาขาภูมิศาสตร์กายภาพ
จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “มวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินของป่าดิบเขาภูหินร่องกล้า” ของนางสาววริสรา ไชยวงค์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ชนิดา สุวรรณประสิทธิ์)

8)รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทบทความวิจัย สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์
จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “ภูมิศาสตร์เบียร์: พื้นที่ของการผลิตและบริโภคคราฟต์เบียร์ My Beer Friend” ของนางสาวอรุณี พริบไหว (อาจารย์ที่ปรึกษา: อ.ดร.ญาณิน จิวะกิดาการ หุยากรณ์)

9) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทบทความวิจัย สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ประยุกต์ จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “การประยุกต์ใช้ดัชนีภัยแล้งจากข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดสุโขทัย” ของนายณัฐกิตต์ เจ็กอยู่ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์)

10) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 งานวิจัยยอดเยี่ยม ประเภทนำเสนอโปสเตอร์ สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ประยุกต์
จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “การประเมินศักยภาพของพื้นที่และแนวทางส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการตัดสินใจแบบพิจารณาหลายเกณฑ์” ของนายปฏิภาณ มาชมภู (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.ชนิดา สุวรรณประสิทธิ์)

11) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทการนำเสนอ สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์
จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “พื้นที่ อารมณ์ ดนตรีแจ๊ส ในเชียงใหม่เมืองพหุวัฒนธรรม” ของนายกฤษฎากร อาหมื่น (อาจารย์ที่ปรึกษา: อ.ดร.ชยา วรรธนะภูติ) 
แกลลอรี่