CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ จับมือนำร่องใน 6 โรงพยาบาล ร่วมโครงการ “Sanofi Planet Care Upcycling Program” เชิญชวนผู้ป่วยเบาหวาน ‘เช็ก ถอด ทิ้ง’ คืนชีวิตใหม่ให้ปากกาอินซูลิน
14 พฤษภาคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
รศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า “ปัจจุบันปัญหาขยะยังคงเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขยะที่มาจากของเสียอันตรายซึ่งตามแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570) มีเป้าหมายให้ของเสียอันตรายในชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 30 35 40 45 และร้อยละ 50 ของปริมาณของเสียอันตรายในชุมชนที่เกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2565 – 2570 แต่จากรายงานสถานการณ์ปี พ.ศ. 2565 จัดทำโดยกองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ พบว่า ของเสียอันตรายในชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพียง ร้อยละ 12.86 และยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้มาก
และเนื่องในปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคเบาหวานอยู่ประมาณ 5.2 ล้านคน โดยผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะใช้ยาฉีดอินซูลินรูปแบบปากกา ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อใช้เสร็จแล้วอาจทิ้งไม่ถูกวิธีจนกลายเป็นขยะที่ต้องกำจัดให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ปากกาอินซูลินใช้แล้ว นับเป็นขยะอันตรายที่มีปริมาณมหาศาลและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งมีเพียง 13% เท่านั้นที่ได้รับการจัดเก็บและกำจัดอย่างถูกวิธี ที่เหลือเกือบ 90% เป็นขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสนับสนุนให้เกิดความตระหนักรู้เรื่องการแยกขยะแก่ประชาชน รณรงค์ให้กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะทางการแพทย์อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
การนำมารีไซเคิลเปลี่ยนพลาสติกจากปากกาอินซูลินใช้แล้วเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยเทคโนโลยี Advanced Recycling เป็นการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม โครงการ “Sanofi Planet Care Upcycling Program” ช่วยส่งเสริมแผนแม่บท “การจัดการขยะมูลฝอย” ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างสุขอนามัยของประชาชนให้ปลอดภัย
ดังนั้นการรณรงค์ “เช็ก ถอด ทิ้ง” โดยตั้งกล่องรับคืนปากกาอินซูลินใช้แล้วในโรงพยาบาลนี้ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดเก็บปากกาอินซูลินใช้แล้วเพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่นวัตกรรมสุขภาพดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อม แสดงถึงพลังความร่วมมือของภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันโดยได้นำร่องใน 6 โรงพยาบาลชั้นนำ ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ขอเชิญชวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ปากกอินซูลินทุกท่าน หากมีปากกาอินซูลินที่ใช้แล้วให้นำกลับมาที่จุดรับทิ้งที่โรงพยาบาลกำหนด
โดยก่อนนำส่งปากกาขอให้ปฏิบัติ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.เช็ค : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีอินซูลินค้างที่ปากกา
2.ถอด : ถอดหัวเข็มฉีดยาออกทิ้งหัวเข็มในกล่องทิ้งวัสดุมีคม
3.ทิ้ง : นำเฉพาะด้ามปากกามาที่จุดรับทิ้งที่โรงพยาบาลกำหนด
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้กำหนดจุดติดตั้งถังขยะสำหรับเป็นจุดรับทิ้ง ดังนี้
1. ห้องตรวจอายุรกรรม เบอร์ 9 (คลินิกโรคต่อมไร้ท่อ) ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระบารมี
2. ห้องตรวจผู้ป่วยเด็ก เบอร์ 29 (คลินิกต่อมไร้ท่อในเด็ก) ชั้น 6 อาคารศรีพัฒน์
3. ห้องจ่ายยาเบอร์16 ชั้น 1 อาคารศรีพัฒน์
4. ห้องจ่ายยาเบอร์ 30 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระบารมี
5. ห้องตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว ชั้น 3 อาคารตะวัน กังวานพงศ์
โดยได้มอบหมายให้ ภญ.ลดาวัลย์ ศิริลักษณ์ หัวหน้างานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก และภญ.อนงค์นาถ ตียาสุนทรานนท์ หัวหน้าหน่วยทะเบียนและจัดการคลังเวชภัณฑ์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นผู้แทนรับนโยบายโครงการ “Sanofi Planet Care Upcycling Program”
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: