CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
Kick off! วิศวฯ มช. เปิดโครงการวิจัยและพัฒนา “ระบบจัดการพลังงานแหล่งสะสมพลังงาน สำหรับหน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง สถานีวิจัยเกษตรหลวงอินทนนท์”
31 มกราคม 2565
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย เปรมฤดีปรีชาชาญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับทุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมรับหน้าที่หัวหน้าโครงการวิจัย และพัฒนานวัตกรรม “ระบบบริหารจัดการพลังงานแหล่งสะสมพลังงานแบตเตอรี่ร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง สถานีวิจัยเกษตรหลวงอินทนนท์” โดยจัดพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ พร้อมชี้แจงแนวทางการพัฒนางานวิจัยระหว่างหน่วยงานภายใต้โครงการดังกล่าว เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 13.15 – 14.30 น. ณ หอเกียรติยศ ชั้น 6 อาคาร 30 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ ผู้แทนคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล คุณวรพจน์ วรพงษ์ ในฐานะผู้แทนของ กฟผ. พร้อมผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานมูลนิธิโครงการหลวงเชียงใหม่ ดร.อัญชัญ ชมภูพวง เป็นประธาน
การดำเนินงานโครงการข้างต้นเป็นความสอดคล้องกับทิศทางงานวิจัยและพัฒนาที่ กฟผ. ที่เป็นแหล่งทุนวิจัย มุ่งสนับสนุนด้านการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดการพึ่งพาและอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ โดย กฟผ.ได้เลือกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าไปเป็นทีมวิจัยเรื่องดังกล่าว
เหตุที่ทีมวิจัยเลือกหน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง สถานีวิจัยเกษตรหลวงอินทนนท์เป็นสถานที่ดำเนินโครงการ สืบเนื่องจากปัญหาอันเป็นประเด็นสำคัญ คือ หน่วยวิจัยฯ รับพลังงานไฟฟ้าจากสายส่ง 22 kV ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งมาจากสถานีไฟฟ้าจอมทอง ปักเสาพาดสายผ่านป่าไม้อุดมสมบูรณ์ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ พื้นที่กว้างขวางเกือบ 199 ไร่ อาจเอื้อโอกาสให้ไฟฟ้าดับบ่อยครั้งและเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ที่ผ่านมาเมื่อปี 2563 พบว่าสถิติไฟฟ้าดับบริเวณหน่วยวิจัย มีจำนวน 36 ครั้ง กินเวลานานที่สุด 7 ชั่วโมง อาจก่อผลกระทบ หรือความเสียหายแก่ผลิตผล หรือการทำงานวิจัยของหน่วยวิจัย ดังนั้น เป้าหมายโครงการวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ครั้งนี้ จึงเน้นศึกษาและพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงาน แหล่งสะสมพลังงานแบตเตอรี่ร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ หาแนวทางลดปัญหาไฟฟ้าดับ ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าแก่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง สถานีวิจัยเกษตรหลวง อินทนนท์ โดยคาดว่าจะสามารถแก้ปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่ได้อย่างน้อย 95% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง ทั้งยัง่ ช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 30% ด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยผลิตไฟฟ้า พร้อมศึกษาคุณลักษณะของแหล่งสะสมพลังงานแบตเตอรี่ชนิด Aqueous Sodium Ion Battery สำหรับการใช้งานในอาคารและภาระโหลดต่างๆ โดยประเมินคุณลักษณะทางวิศวกรรมเทียบกับข้อกำหนดทางเทคนิค มีอัตราการชาร์ต/ดิสชาร์ตแบตเตอรี่ อายุการทำงานของแบตเตอรี่ การตอบสนองการจ่ายโหลดเป็นอาทิ รวมถึงประเมินความคุ้มค่าการลงทุนจากใช้งานแบตเตอรี่ดังกล่าวด้วย โดยจะดำเนินการ 3 อาคาร คือ อาคารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช อาคารคัดบรรจุไม้ดอก และอาคารเก็บหัวพันธุ์ไม้ดอก
ทีมวิจัยประกอบด้วย หัวหน้าโครงการ รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย เปรมฤดีปรีชาชาญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวฯ มช. พร้อมทีมผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ วิระสันติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชริน ศรีรัตนาวิชัยกุล, อาจารย์ ดร.สิโรตม์ คุณกิตติ, ดร.นเรศ สุยะโรจน์ วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มช. ตลอดจนนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า นายอรรถพร สุพรรณนนท์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก และนายอภินันท์ ชื่นฉอด นักศึกษาระดับปริญญาโท ภายใต้ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี นับจากวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565
ประมวลภาพเพิ่มเติม>>
https://gallery.eng.cmu.ac.th/thumbnails.php?album=1740
งานวิจัยและนวัตกรรม
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ข่าวเด่น
ข้อมูลโดย : https://eng.cmu.ac.th/?p=27683
×
RoomID:
Room Name:
Description: