นักธรณีวิทยา มช.
ร่วมกับนักวิจัยนานาชาติ
ศึกษาลักษณะชั้นหินที่ตกสะสมบนลาดทวีปของทะเลจีนใต้โบราณโดยกระแสน้ำขุ่นแบบวิกฤตยิ่งยวด
อาจารย์ ดร. รัตนาภรณ์ ฟองเงิน จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ Dr. Wu-Cheng Chi จาก Institute of Earth Sciences, Academia Sinica สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) Dr. Christian Berndt จาก GEOMAR Helmholtz Centre for Ocean Research Kiel สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ Prof. David Mohrig จาก Jackson School of Geosciences, University of Texas at Austin สหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาวิจัยการจำแนกออกและลักษณะสามมิติของชั้นหินที่เกิดจากกระแสแบบวิกฤตยิ่งยวด (supercritical flow) บนลาดทวีป (Recognition and three-dimensional characteristics of ancient supercritical flow bed forms on a submarine slope: An example from the South China Sea)
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะชั้นหินที่ตกสะสมบนลาดทวีปของทะเลจีนใต้โบราณโดยแสน้ำขุ่นแบบวิกฤตยิ่งยวด (supercritical flow) มีลักษณะสามมิติที่ซับซ้อน คือ เป็นหลุมกว้างประมาณ 500-1300 เมตร และลึก 30-140 เมตร ถูกล้อมรอบด้วยผนังชัน แต่เมื่อมองในภาพตัดขวางตามแนวที่กระแสน้ำขุ่นไหลไป จะมีลักษณะคล้ายคลื่นหรือขั้นบันไดที่เอียงไปทางต้นกระแส ซึ่งอาจจะนำไปสู่การแปลข้อมูลผิดเป็นระบบรอยเลื่อนปกติ
จากข้อมูลเชิงเรขาคณิตของชั้นหิน ผู้ศึกษาสามารถคำนวณความเร็วของกระแสน้ำขุ่นโบราณได้ค่าอย่างน้อย 2 m/s ซึ่งมีพลังงานที่จะนำพาตะกอนได้ถึงขนาดทรายหยาบ
และเนื่องจากชั้นตะกอนเหล่านี้มี hydrate methane ที่กำลังได้รับความสนใจ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานใหม่สะสมตัวร่วมด้วย ผลงานวิจัยนี้จึงสามารถช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิด และการกักเก็บ hydrate methane และพลศาสตร์ของกระแสน้ำขุ่นแบบวิกฤตยิ่งยวด กับการสะสมตัวของ hydrate methane และระบบนิเวศในทะเลลึกในบริเวณอื่น ๆ ที่พบลักษณะชั้นหินแบบเดียวกันบนพื้นทะเล
Photos by freepik & rawpixel