วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รุจิรา อุ่นเจริญ คณบดี วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล พร้อมด้วยทีมนักวิจัย ได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางรถไฟสำคัญในลาว-ไทย ระหว่างวันที่ 7-10 กรกฎาคม 2567 ภายใต้โครงการ การจัดทำระบบสารสนเทศการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การขนส่งสินค้าระหว่าง จีน และแอฟริกา ยุโรป มาเลเซีย สิงคโปร์ ผ่านระบบรางของไทย

11 กรกฎาคม 2567

วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล

   วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รุจิรา อุ่นเจริญ คณบดี วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล พร้อมด้วยทีมนักวิจัย ได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางรถไฟสำคัญในลาว-ไทย ระหว่างวันที่ 7-10 กรกฎาคม 2567 ภายใต้โครงการ การจัดทำระบบสารสนเทศการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน การขนส่งสินค้าระหว่าง จีน และแอฟริกา ยุโรป มาเลเซีย สิงคโปร์ ผ่านระบบรางของไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำจากการสำรวจมาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน มุ่งหวังยกระดับประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผ่านระบบรางที่เชื่อมโยงไทย ลาว จีน และภูมิภาคอื่น ๆ การสำรวจครั้งนี้ ครอบคลุมสถานีรถไฟสำคัญต่างๆ ดังนี้

   - สถานีรถไฟหลวงพระบาง: ศึกษาระบบขนส่งสินค้าและพื้นที่สำคัญทางการขนส่งทางราง ขบวนรถ และ ตู้คอนเทนเนอร์

   - สถานีรถไฟบ่อเต็น: จุดขนส่งสินค้าและผู้โดยสารหลัก บริเวณนี้มีด่านสำคัญ 3 ด่าน ได้แก่ ด่านภาษี ด่านสินค้า และ ด่านคนเข้า-ออก เชื่อมต่อบ่อเต็นกับบ่อหาน ประตูสู่ประเทศจีน มีการขนส่งสินค้า ทางรถไฟและ รถบรรทุกหลากหลาย บริษัท ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ผ่านทางถนนหมายเลข 13

   - สถานีท่านาแล้ง: พบตัวแทนจากกรมการขนส่ง ณ เวียงจันทน์ เพื่อรวบรวมข้อมูลการขนส่ง เช่น จำนวนเที่ยวรถ จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ ปริมาณสินค้า สถิติต่าง ๆ

   - สถานีนาทาและสถานีหนองคาย: ศึกษาระบบขนส่งสินค้าทางรางจากจีนผ่านลาวมายังไทย และจากไทยไปลาว-จีน รวบรวมข้อมูลการขนส่งทางรถไฟและรถบรรทุก เน้นประเภทสินค้า ปริมาณสินค้า ปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ จำนวนเที่ยว และจำนวนขบวนการขนส่งต่อวัน

   การสำรวจครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของไทย และส่งเสริมให้ไทย เป็นศูนย์กลาง โลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค

แกลลอรี่