CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
ระวัง!!! มะเร็งเต้านม มะเร็งร้ายอันดับแรกที่หญิงไทยต้องระวัง
17 มกราคม 2567
คณะแพทยศาสตร์
มะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในเต้านม โดยเฉพาะเซลล์ท่อน้ำนม โดยเซลล์จะเริ่มแบ่งตัวผิดปกติแล้วลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง จากนั้นหากปล่อยไว้ อาจแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายได้ ผ่านทางเดินน้ำเหลือง อัตราการเกิดโรคของทั่วโลก พบว่าผู้หญิง 8 ราย จะพบโรคมะเร็ง 1 ราย อุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมในไทยคิดเป็น 37.8 ราย ต่อประชากรแสนราย ซึ่งในจำนวนนี้มีอัตราการเสียชีวิต 12.7 ราย ต่อประชากร 1 แสนราย
สาเหตุ
-ส่วนใหญ่เกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนที่มีมากเกินไป
-ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหารประเภทไขมันสูง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
-อายุที่มากขึ้น
-มีประวัติโรคมะเร็งเต้านมในครอบครัว
-น้ำหนักตัวมาก หรือเคยมีประวัติตรวจพบก้อนที่เต้านมมาก่อน
อาการของโรคมะเร็งเต้านม
-มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
-ขนาดหรือสีผิวของเต้านม
-มีของเหลวไหลออกจากหัวนม หรือคลำเป็นก้อนได้ที่เต้านมหรือรักแร้
การตรวจมะเร็งเต้านม
-สามารถตรวจมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง สามารถคลำตรวจด้วยตนเองทำได้ทุกเดือน เมื่อคลำแล้วพบก้อนที่ผิดปกติ แล้วไม่สบายใจ ไม่แน่ใจ ให้เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
-การตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อคลำแล้วพบก้อนที่ผิดปกติ แล้วไม่สบายใจ ไม่แนใจ
-การตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม
จากรายงานทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ประเทศไทยส่วนมาก พบในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 หากพบโรคตั้งแต่ระยะแรก โอกาสการรักษาที่จะหายขาดมากขึ้น
***ข้อแนะนำ ผู้หญิงไทยควรตรวจมะร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง ภายใต้โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม ตั้งแต่ปี 2542 รณรงค์ให้ประชากรหญิงไทยตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีการศึกษาวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ พบว่าการตรวจด้วยตนเอง สามารถพบก้อนมะเร็งที่เต้านมได้เร็วขึ้น หากพบก้อนที่มีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร มีอัตราการรอดชีวิตที่ดีกว่าคนที่พบก้อนเนื้อที่มีขนาดใหญ่แล้ว
อย่างไรก็ตาม การตรวจภาพรังสีเต้านม เป็นการตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดอัตราการพบมะเร็งเต้านมในระยะลุกลาม และสามารถเพิ่มการรอดชีวิต
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม
ควรตรวจเมื่อประจำเดือนหมดไปแล้ว 7 – 10 วัน เพราะเป็นระยะที่เต้านมนิ่มแล้ว หากตรวจก่อนที่มีประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนหมาดๆ จะตรวจเต้านมได้ยากและเจ็บ
-ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 20 ปี คลำเต้านมตัวเอง (BSE) ทุกเดือน ในช่วงอายุที่ไม่จำเป็นตรวจแมมโมแกรม
-ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี คลำเต้านมตัวเอง (BSE) ทุกเดือน + ตรวจแมมโมแกรม ทุก 2 ปี
-ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี คลำเต้านมตัวเอง (BSE) ทุกเดือน + ตรวจแมมโมแกรม ทุก 1 ปี
-ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี คลำเต้านมตัวเอง (BSE) ทุกเดือน + ตรวจแมมโมแกรม ทุก 1-2 ปี
กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจคัดกรองทุกปี
-ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งที่รังไข่ที่อายุน้อยกว่า 50 ปี
-ผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
-ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายแสงบริเวณหน้าอก
-ผู้ที่มีประวัติชิ้นเนื้อเต้านมพบเซล์ผิดปกติ
-ผู้ที่ได้รับประทานฮอร์โมนเสริมทดแทนวัยหมดประจำเดือนเป็นประจำมากกว่า 5 ปี
แนวทางการรักษา
การรักษาหลักคือ การผ่าตัด ซึ่งแบ่งออกเป็นการผ่าตัดแบบสงวนเต้า และการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ อาจจำเป็นต้องให้การฉายรังสี และหรือการให้ยาเคมีบำบัด และหรือ การให้ฮอร์โมนบำบัดร่วมด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)พญ.อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์ อาจารย์หน่วยรังสีรักษาเเละมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. และ ประธานเครือข่ายมะเร็งเต้านมภาคเหนือ
เรียบเรียง: นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: