CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
นักวิจัยคณะวิทย์ มช. พัฒนาไบโอเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าสำหรับตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม
1 ตุลาคม 2564
คณะวิทยาศาสตร์
ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มช. ได้พัฒนาอิมมูโนเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าที่สามารถตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม ได้พร้อมกันถึง 3 ชนิด ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาการทดสอบเพื่อการวินิจฉัย ที่มีราคาประหยัด เพิ่มโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการคัดกรองความเสี่ยง ต่อมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น และอาจนำไปสู่การลดอัตราการสูญเสียชีวิต จากมะเร็งเต้านมได้ในอนาคต
มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ในผู้หญิงทั่วโลก และมีแนวโน้มสูงขึ้นในแต่ละปี นอกจากการตรวจทางรังสีวิทยาและการตรวจชิ้นเนื้อแล้วโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (Breast cancer biomarkers) กำลังได้รับความสนใจเนื่องจากจะทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ปัจจุบันการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านมทางคลินิกยังมีราคาสูงและยากต่อการเข้าถึง
ดร.กุลริศา กันทะมัง ศ.ดร.จรูญ จักร์มุณี และ รศ.ดร.กรธัช อุ่นนันกาศ จากภาควิชาเคมี และศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
ได้พัฒนาอิมมูโนเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าที่สามารถตรวจวัดสารบ่งชี้มะเร็งเต้านมได้ถึง 3 ชนิดพร้อมกัน ได้แก่ Mucin1 (MUC1), Cancer antigen 15-3 (CA15-3) และ Human epidermal growth factor receptor 2 (HER2) ได้เป็นครั้งแรก โดยได้รายงานผลการค้นคว้าในวารสาร Journal of Materials Chemistry B (Impact factor 2020: 6.331)
ไบโอเซ็นเซอร์ดังกล่าวอาศัยการวัดสัญญาณไฟฟ้าที่ขั้ว screen-printed carbon electrode (SPCE) ที่ปรับปรุงด้วยโพรบรีดอกซ์ (Redox probes) ที่แตกต่างกัน และพอลิเอทิลีนอิมมิน-อนุภาคทองคำนาโนที่คอนจูเกตกับแอนติบอดี (Antibodies) ที่จำเพาะต่อสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม 3 ชนิด โดยพบว่าสัญญาณไฟฟ้าที่วัดได้มีค่าลดลงเมื่อแอนติบอดีเกิดอันตรกิริยากับแอนติเจนที่เป็นสารบ่งชี้มะเร็งเต้านมในตัวอย่าง นอกจากนี้ไบโอเซ็นเซอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถวัดปริมาณแอนติเจนชนิดต่างๆ ในระดับอ้างอิงจาก clinical relevant cut-off levels และสามารถประยุกต์ใช้ในตัวอย่าง human serum ได้อีกด้วย
งานวิจัยพื้นฐานดังกล่าวเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาการทดสอบเพื่อการวินิจฉัยหรือ point-of-care (POC) diagnosis ที่มีราคาประหยัด เพิ่มโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการคัดกรองความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น และอาจนำไปสู่การลดอัตราการสูญเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ในอนาคต
อ่านงานวิจัยได้ที่
Kuntamung, K., Jakmunee, J., Ounnunkad, K. A Label-free Multiplex Electrochemical Biosensor for Detection of Three Breast Cancer Biomarker Proteins Employing Dye/Metal Ions-loaded and Antibodies-Conjugated Polyethyleneimine-Gold Nanoparticles
J. Mater. Chem. B
, 2021,9, 6576-6585
IF (2020) = 6.331 (Q1) Scopus
https://doi.org/10.1039/D1TB00940K
งานวิจัยและนวัตกรรม
สุขภาพ
เทคโนโลยี
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: