CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์
25 มิถุนายน 2567
คณะวิทยาศาสตร์
วังสระปทุม: วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๔๕ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และผู้บริหารสถาบันในประเทศไทยภายใต้ความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์ อันได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และคณะกรรมการความร่วมมือการวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ประเทศไทย เข้าเฝ้าฯ และทรงเป็นองค์ประธานในการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน กับสถาบันในประเทศไทยภายใต้ความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์ จำนวน ๔ สถาบัน
ด้วยพระวิสัยทัศน์อันยาวไกล ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมุ่งมั่นผลักดันให้ประเทศไทยได้เข้าไปเป็นส่วนร่วมในการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ขั้วโลกกับหน่วยงานชั้นนำระดับโลก เพื่อส่งเสริมยกระดับขีดความสามารถทางการวิจัยและวิทยาศาสตร์ของประเทศให้มีความทัดเทียมสากล ประเทศไทยได้มีการสร้างความร่วมมือการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงกับกลุ่มวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ตามพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของความร่วมมือทางด้านฟิสิกส์ของนิวทริโน และส่งเสริมการดำเนินงานด้านวิศวกรรมขั้วโลก ระหว่าง ๔ สถาบันในประเทศไทยร่วมกับศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์วิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในพิธีลงนาม และมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรามาศ โกมลจินดา อาจารย์ เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม เรือเอกธีรศักดิ์ ปัญญาภีรวัฒน์ และนางสาวกชนิภา ไชยน้อย จากกลุ่มวิจัยระบบนิเวศโลก-อวกาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมด้วย
บันทึกความเข้าใจระหว่างมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน กับสถาบันในประเทศไทยภายใต้ความร่วมมือไทย-ไอซ์คิวบ์ ที่มีการลงนามในวันนี้ถือเป็นก้าวสำคัญสู่ความร่วมมือระยะยาวด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยความร่วมมือครั้งนี้จะนำมาซึ่งการวิจัยที่ล้ำสมัย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และส่งเสริมการฝึกฝนบุคลากรที่มีความสามารถสูงรุ่นต่อไปในประเทศไทย ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งจะเป็นเครื่องมือผลักดันให้เกิดการศึกษาวิจัยขั้นสูง โดยบูรณาการองค์ความรู้จากสหสาขาวิชาในการขับเคลื่อนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมกับพัฒนาขีดความสามารถให้แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ คณาจารย์ นักวิจัย และวิศวกร ได้มีโอกาสเรียนรู้และทำงานร่วมกัน ต่อยอดขยายขอบเขตความเข้าใจและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยิ่งขึ้นไป
ข่าวจากมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และห้องปฏิบัติการวิจัยดาราศาสตร์
ภาพข่าวจากข่าวในพระราชสำนัก สำนักข่าวไทย
งานวิจัยและนวัตกรรม
เทคโนโลยี
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: