CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
6 โรคยอดฮิตที่ควรระวังในหน้าฝน
16 กรกฎาคม 2564
คณะแพทยศาสตร์
1.โรคไข้เลือดออก
เกิดจาก"ยุงลาย" เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โดยในแต่ละปียังมีคงผู้ติดเชื้อจำนวนมาก มีการระบาดมากในฤดูฝนแต่ก็พบการติดเชื้อนี้ได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษา และไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งเพื่อไม่ให้ยุงลายพักอาศัย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น ที่ๆมีแสงสว่างเพียงพอ หากมีไข้สูงเฉียบพลันให้รีบพบแพทย์ทันที
2. โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร
เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส อาหารที่ปรุงไม่สุกพอ หรืออาหารที่ค้างไว้หลายชั่วโมง โดยผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีอาการสูญเสียน้ำภายใน 1 – 2 วัน หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิด ประเภท ปริมาณของเชื้อโรค และสารพิษที่ได้รับ แต่หากเกิดอาการรุนแรงขึ้น เช่น ท้องเสียมาก อาเจียนมาก มีเลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ แขนขาอ่อนแรง หากปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมกับมีไข้สูง ควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่จนเป็นอันตรายได้
3.โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก มักมีการระบาดช่วงฤดูฝน ติดต่อจากเชื้อ ไวรัสแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย โรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัว 3-7 วัน พบเชื้อทางน้ำลาย 2-4 วัน ก่อนมีอาการ จนถึง 1-2 สัปดาห์หลังมีอาการ ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ตํ่าๆถึงไข้สูง อ่อนเพลีย ต่อมา มีอาการเจ็บปาก กลืนนํ้าลายไม่ได้ และไม่ยอมทานอาหารเนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ดังนั้นอย่าให้เด็กมีไข้สูงเกินไป เพราะอาจจะชักได้
4.โรคตาแดง
ฤดูฝน เป็นฤดูที่พบการระบาดของโรคตาแดงหรือ โรคตาอักเสบพบได้บ่อย มากกว่าฤดูอื่น ๆ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตา ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อทางการสบสายตา หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน การป้องกัน ล้างมือด้วยน้ำสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา เมื่อเกิดมีอาการตาแดงขึ้น ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
5.โรคผิวหนัง
ความอับชื้นที่มาพร้อมกับสายฝนอาจก่อให้เป็นผื่นผิวหนังได้ หากไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกวิธีจะทำให้เกิดโรคผิวหนังจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงผิวหนังอักเสบได้ โดยโรคผิวหนังที่พบบ่อยในฤดูฝน ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้า ผื่นผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อรา ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำสกปรกโดยตรง หรือใส่รองเท้าบู๊ทยางเมื่อต้องเดินลุยน้ำท่วมขัง หากเปียกฝนควรรีบทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ หรือเช็ดตัวให้แห้ง ไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะความอับชื้นเป็นปัจจัยให้ผิวไวต่อเชื้อแบคทีเรีย และแพ้ง่ายขึ้น
6. โรคเลปโตสไปโรซิสหรือไข้ฉี่หนู
โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เลปโตสไปรา ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งคนและสัตว์ โดยการติดเชื้อในคนจะมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหาร น้ำดื่มที่ปนเปื้อนแบคทีเรียดังกล่าว รวมถึงการสัมผัส หรือได้รับแบคทีเรียทางรอยแผลที่ผิวหนัง โดยผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง ตัวเหลือง คลื่นไส้ และอาเจียน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับตับและไต และอาจรุนแรงทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
คำแนะนำ ควรดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นทานผักและผลไม้ที่มีวิตามิน C, E และเบต้าแคโรทีน เลือกทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำสะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงไปในพื้นที่ชื้นแฉะและมีน้ำท่วมขัง ป้องกันไม่ให้ยุงกัด และหากร่างกายมีความผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี
ข้อมูลโดย ผศ.นพ.อนุชาติ มาธนะสารวุฒิ อาจารย์พิเศษภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
#COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมื
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: