CMU
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
|
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
60 ปี มช.
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับมช.
ข้อมูลสาธารณะ
CMU 360 องศา
SDGs
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
Download CMU Powerpoint Template
ช่องทางการสอบถามข้อมูล (Q&A)
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
เสนอแนะ/ร้องเรียน
ข่าว
24 เมษายน วันเยื่อหุ้มสมองอักเสบโลก (WORLD MENINGITIS DAY)
24 เมษายน 2567
คณะแพทยศาสตร์
เยื่อหุ้มสมอง ทำหน้าที่เป็นเนื้อเยื่อส่วนที่ห่อหุ้มสมอง ปกป้องสมองไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนรบกวนด้วยสารเคมี และสารพิษต่างๆ รวมถึงไขสันหลังด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความผิดปกติของเยื่อหุ้มสมอง โดยเฉพาะการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองก็จะทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า “เยื่อหุ้มสมองอักเสบ”ได้ หากควบคุมไม่ได้ เชื้อจะลุกลามและเข้าไปอยู่ในเนื้อสมอง ส่งผลให้สมองอักเสบขึ้นมา
สาเหตุที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
มีหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่
1.การติดเชื้อในทุกที่ของร่างกาย อาทิ ติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือระบบทางเดินปัสสาวะ หากควบคุมไม่ได้ก็จะเริ่มเกิดกระบวนการที่เรียกว่าติดเชื้อในกระแสเลือดได้ เมื่อเลือดอุดมไปด้วยแบคทีเรีย จึงมีโอกาสที่เชื้อโรคจะแพร่ไปตามเลือดเกาะไปตามเนื้อเยื่อหุ้มสมองทำให้เกิดการอักเสบเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อได้ทุกระบบ สุดท้ายจบด้วยอาการของโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ
2.เกิดจากการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ
อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
1. มีไข้
2. ปวดศีรษะรุนแรง จนกระทั่งทนไม่ได้ ทานยาลดอาการปวดแล้วไม่หาย
3. คอแข็ง ขยับคอลำบาก หมุนคอซ้าย ขวา ก้มหน้าไม่ได้
4. แพ้แสง แพ้เสียง เมื่อพบแสงที่จ้า หรือเสียงดัง จะมีอาการปวดศีรษะตามมาได้ เพราะฉะนั้น อาการที่เด่นชัด สำหรับผู้ป่วยที่แตกต่างจากระบบติดเชื้ออื่นๆ
ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
1. พบในบุคคลที่อายุมากเกิน 50 ปีขึ้นไป
2. การได้รับยากดภูมิคุ้มกันต่างๆ ผู้ป่วยบางรายเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาทิ โรค SLE โรครูมาตอยด์ เป็นต้น
3. กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
4. การรับประทานอาหารบางอย่างที่ไม่เหมาะสม อาทิ โรคหูดับ ที่เกิดจากการรับประทานอาหารดิบ โดยได้รับเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส ที่พบในหมูดิบ หรือลาบดิบ แล้วส่งผลทำให้หูดับได้ ซึ่งก่อนที่หูจะดับ จะต้องผ่านกระบวนการเยื่อหุ้มสมองอักเสบก่อนเสมอ เพราะเซลล์ประสาทที่รับเสียง จะถูกหุ้มด้วยเยื่อหุ้มสมองอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจะต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบก่อนเสมอ
แนวทางการรักษา
1. แพทย์จะให้การรักษาโดยยาปฏิชีวนะ แล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์
2. สำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันผิดปกติ แพทย์จะให้การรักษาโดยการให้ยากดภูมิคุ้มกัน
การรักษาสามารถหายขาดได้ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะระบาดไม่มากในประเทศไทย แต่จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปีละ 1 พันราย ยังไม่รวมผู้ป่วยที่รอดชีวิตแต่พิกลพิการ อย่างโรคหูดับ เป็นต้น
การป้องกัน
1. การรับประทานอาหารต้องสุก สะอาด ผักดิบผักสดควรหลีกเลี่ยง
2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นออกกำลังกาย
3. ห้ามซื้อยารับประทานเอง โดยไม่มีข้อบ่งชี้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีภูมิคุ้มกันที่ตกโดยไม่จำเป็น เช่น ยาหม้อตามพื้นบ้าน ยาลูกกลอน เนื่องจากยาทั้งหมดนี้มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์
(สำหรับปัจจัยเรื่องของอายุที่มากขึ้นไม่สามารถป้องกันได้)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.ชุติเทพ ทีฆพุฒิ อาจารย์หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: