หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
กีฬา
Featured
สุขภาพ
กฎหมายกฎระเบียบ
การบริจาค
เทคโนโลยี
ศาสนา
วารสาร
บทความเกี่ยวกับ 60 ปี มช.
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
เอกลักษณ์องค์กร (CI)
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
ลิงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
CMU First Year
CMU IT Life
โครงการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลสาธารณะ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
ภาษา
ภาษาไทย
อังกฤษ
จีน
TH
|
EN
|
CN
หน้าแรก
ข่าว
ข่าว
ศูนย์ CIC CAMT เปิดตัวศูนย์ NEC CBEC Academy
27 พฤศจิกายน 2566
วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุม D206 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ศูนย์ China Intelligence Center (CIC) วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และองค์กรเครือข่ายประกอบด้วยตัวแทนจากหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สมาพันธ์ SMEs และสมาชิกบิสคลับจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนตัวแทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สกสว และสำนักงบประมาณ จัดกิจกรรมเปิดตัวศูนย์ NEC CBEC Academy สนับสนุนผู้ประกอบการภาคเหนือสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีน ผ่านระบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (CBEC) เชื่อมโยงกับแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) สู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษข้ามพรมแดนไทย-ลาว-จีน เพื่อแนะนำบทบาทหน้าที่ของศูนย์ NEC CBEC Academy และระดมความคิดเห็นการให้บริการผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาสินค้าเข้าสู่ตลาดประเทศจีนผ่านช่องทาง CBEC
อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ หัวหน้าศูนย์ CIC และหัวหน้าแผนงาน“การสร้างห่วงโซ่คุณค่าข้ามแดน “เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ” กลุ่มธุรกิจ New S Curve”ของ บพท. เผยว่า NEC CBEC Academy ได้ออกแบบหลักสูตรอบรมเพื่อตอบโจทย์พลวัตการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยขับเคลื่อนทั้งในเชิงยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของจีน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตลาดและลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย นำมาสู่การเกิดตัวแบบธุรกิจและช่องทางการตลาดในรูปแบบใหม่ขึ้นตลอดเวลา NEC CBEC Academy จึงวางรูปแบบการสร้างหลักสูตรที่มุ่งตอบโจทย์สร้างศักยภาพทางการค้า บนบริบทการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ทางธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมถึงตอบโจทย์โอกาสใหม่บนตลอดจนทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านโลจิสติกส์และเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ
ทั้งนี้หลักสูตรฯจะเป็นทั้งการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งในระยะสั้นให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการทดลองเข้าสู่ตลาดจีน อาศัยการสร้างศูนย์การเรียนรู้ที่สามารถทำการค้าได้จริงเป็นตัวทดลอง ให้ความสำคัญต่อการสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการธุรกิจไทย-ลาว-จีน และร่วมกับ บพท.เพื่อทำการศึกษาวิจัยเชิงลึกตอบโจทย์ความต้องการด้านการค้า เป็นแนวทางเพื่อนำไปสู่การสร้างกำลังคนทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเอกชน และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ รองรับปรับตัวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนระหว่างจีน-อาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในทิศทางหลักของ Northern Economic Corridor (NEC)
ทั้งนี้ศูนย์ NEC CBEC Academy ได้ออกแบบหลักสูตรผ่านการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้และให้คำปรึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการนำเข้าทั้งในรูปแบบ C2C/B2C/B2B2C/C2B/O2O CBEC ซึ่งครอบคลุมการเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ทั้งในขั้นตอนทดลองตลาด การเข้าสู่ตลาดในระยะต้น ให้กับผู้ประกอบการ SMEs มีการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยตลาด การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ E-commerce และการส่งเสริมการตลาดแบบ Social Commerce ผ่านทีมขายชุมชนออนไลน์วีแชท เทคนิคการขายผ่านช่องทาง Clip VDO/Live streaming ฝึกฝนรูปแบบการค้าผ่าน CBEC Business Model รูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการทำ Business Matching เพื่อแนะนำสินค้าไทยของกลุ่มผู้ประกอบการให้กับคู่ค้าในประเทศจีน ซึ่งทั้งหมดถือเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้สำหรับผู้ประกอบการดิจิทัลยุคบูรพาภิวัฒน์บุกตลาดจีนของศูนย์ CIC ภายใต้ NEC CBEC Academy
ศูนย์ NEC CBEC Academy ถือเป็นการทำงานคู่ขนานกับความพยายามสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษบนพื้นที่ภาคเหนือที่ต้องการสร้าง New S Curve ให้กับอุตสาหกรรมในพื้นที่และทำให้พื้นที่ภาคเหนือมีระดับ GDP สูงขึ้นสองเท่าในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ซึ่งแน่นอนว่าปัจจัยหลักต่อการบรรลุเป้าหมายนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาคเหนือต้องผลิตกำลังคนที่สอดรับต่อโอกาสใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งทักษะเชิงดิจิทัลเพื่อการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ช้ามพรมแดนเชื่อมโยงกับตลาดประเทศอาเซียนและจีน ถือเป็นหนึ่งในทิศทางการพัฒนากำลังคนสำคัญของ NEC
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: