ทีมนักวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์ ภาคฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาสมบัติการเก็บเกี่ยวพลังงานของวัสดุเซรามิกไรสารตะกั่วขั้นสูง มีสมบัติที่ดีในด้านพลังงาน ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และมีความปลอดภัยในการผลิตและการใช้งาน นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุหลายหน้าที่ ที่เป็นทางเลือกต่อภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
โดยได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในวารสารชั้นนำ จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้
1. Improvements of depolarization temperature, piezoelectric and energy harvesting properties of BNT-based ceramics by doping an interstitial dopant (การปรับปรุงอุณหภูมิ depolarization (Td) ไพอิโซอิเล็กทริก และสมบัติการเก็บเกี่ยวพลังงานของเซรามิกที่มี BNT โดยการเติมสารเจือคั่นระหว่างหน้า)
ทีมนักวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์ ภาคฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ศ.ดร กอบวุฒิ รุจิจนากุล, ดร. ศุภลักษณ์ มะโนธรรม, ดร.ภาราตรี ใจตา, ดร.พิชิตชัย บุตรน้อย และ ดร.นฤมล เลิศคำฟู ได้ร่วมกันทำการปรับปรุงค่า Td และสมบัติของ ไพอิโซอิเล็กทริกด้วยพร้อมทั้งทำการวิเคราะห์สมบัติด้วยเทคนิคต่างๆ ในงานวิจัยนี้ได้รายงานวิธีการในการเพิ่ม Td โดยใช้สารเติมแต่งโบรอนออกไซด์ (B2O3) นอกจากนี้ ได้ทำการการปรับปรุงค่าโพลาไรเซชันคงเหลือ (Pr) สมบัติของไพอิโซอิเล็กทริก ค่าไดอิเล็กตริกการสูญเสีย และประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวพลังงานของเซรามิกที่ศึกษา
ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่ได้พบว่า สาร B2O3 มีผลกระทบของต่อสมบัติเซรามิกที่มี BNT เป็นฐาน ซึ่งจากข้อมูลที่ได้พบว่า ประจุไอออนของโบรอนได้เข้าสู่ตำแหน่งซอกของระหว่างอะตอมในยูนิตเซลล์ ซึ่งจะลดช่องว่างของออกซิเจนและสร้างความเครียดภายในผลึก การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งเสริมในการเพิ่มขึ้นของค่า Td และปรับปรุงสมบัติของเฟอร์โรอิเล็กทริก และไพอิโซอิเล็กทริก นอกจากนี้ ยังส่งผลให้สมบัติในการเก็บเกี่ยวพลังงานดีซึ่งจะสัมพันธ์กับค่า d33 และ g33 ที่ได้รับหลังจากเติม B2O3 ดังนั้นการเพิ่ม B2O3 ลงในเซรามิกส์ไพอิโซอิเล็กทริกที่ใช้ BNT ฐาน อาจเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่ดีในการได้รับ Td สูง พร้อมสมบัติการเก็บเกี่ยวพลังงานที่ดีเทคนิคนี้อาจให้ผลลัพธ์ที่ดี หรือส่งผลเชิงบวกต่อเซรามิกไร้สารตะกั่วแบบไพอิโซอิเล็กทริกอื่น ๆ
วัสดุที่ทำการศึกษา เป็นวัสดุไร้สารตะกั่วที่ไม่เป็นพิษการสิ่งแวดล้อม ซึ่งมักเกิดในกระบวนการผลิต และเป็นวัสดุในอนาคต ที่มีสมบัติที่ดีในด้านพลังงาน
งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ Journal of Alloys and Compounds ในปี 2022 (Q1 Scopus, Impact Factor 6.371)
ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://doi.org/10.1016/j.jallcom.2021.163021
อ้างอิง Manothama, S., Jaita P., Butnoia, P., Lertcumfud, N., Rujijanagul, G., 2022. Improvements of depolarization temperature, piezoelectric and energy harvesting properties of BNT-based ceramics by doping an interstitial dopant. Journal of Alloys and Compounds, 897, 163021
2. Enhancement of electrostrictive and magnetic performance with high energy storage efficiency in Fe2O3 nanoparticles modified Ba(Zr0.07Ti0.93)O3 multiferroic ceramics (การปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงไฟฟ้าและแม่เหล็กและประสิทธิภาพการจัดเก็บพลังงานสูงในเซรามิก multiferroic Ba(Zr0.07Ti0.93)O3 ที่ ดัดแปลงด้วยอนุภาคนาโน Fe2O3)
ทีมนักวิจัยสาขาวัสดุศาสตร์ ภาคฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ศ.ดร.กอบวุฒิ รุจิจนากุล, ผศ. ดร.ภาคภูมิ จารุภูมิ, ดร.ภาราตรี ใจตา, Denis Russell Sweatman , ผศ.ดร.อนุชา วัชระภาสร ได้ร่วมกันพัฒนาเซรามิก Ba(Zr0.07Ti0.93)O3/xFe2O3(93BZT/xFe2O3, x = 0-1.0 mol%) ที่ปราศจากสารตะกั่ว ที่ถูกเตรียมโดยใช้วิธีผสมออกไซด์ และเติมอนุภาคนาโน Fe2O3 ซึ่งส่งผลต่อสมบัติเฟอร์โรอิเล็กทริกของเซรามิก โดยมีการเปลี่ยนลูปฮิสเทรีซิสจากเซรามิกที่ยังไม่ได้ดัดแปลงไปเป็นเป็นวงแคบที่ 0.5 mol% ของการเติม และยังส่งผลให้มีการปรับปรุงความเครียดที่เกิดจากสนามไฟฟ้า และค่าสัมประสิทธิ์อิเล็กโทรสตริกทิฟ นอกจากนี้การเติม Fe2O3 1.0 mol% ได้แสดงการเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 98% และมีการปรับปรุงลูปฮิสเทรีซิสของ M-H และค่าความจุภายใต้สนามแม่เหล็ก ผลการวิจัยพบว่า มีการปรับปรุงพฤติกรรมเชิงแม่เหล็กพร้อมทั้งเชิงไฟฟ้าของ Ba(Zr0.07Ti0.93)O3 ที่ดัดแปลงโดยอนุภาคนาโน Fe2O3 อย่างน่าประหลาดใจ ซึ่งไม่เคยคาดคิดมาก่อน ดังนั้นเซรามิกระบบนี้น่าจะมีศักยภาพในการใช้งานด้านอุปกรณ์มัลติฟังก์ชั่น
ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่ได้พบว่า เซรามิก 93BZT/xFe2O3, x = 0-1.0 mol%นี้ ได้ถูกสังเคราะห์ด้วยวิธีการผสมออกไซด์ และได้ทำการศึกษาสมบัติเชิงแม่เหล็กและไฟฟ้าของเซรามิก พบว่า เซรามิกแสดงโครงสร้าง perovskite ซึ่งยังพบเฟส Fe2O3 ปนอยู่ ซึ่งอนุภาคนาโนของ Fe2O3 จะยับยั้งการเจริญเติบโตของเกรน และโครงสร้างจุลภาคจะมีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดแจนที่ปริมาณการเติม Fe2O3 เท่ากับ 0.1 mol% และเมื่อปริมาณอนุภาคนาโนที่เติมมากขึ้น ค่า Tc จะลดลงในขณะที่ T1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากนั้นจะรวมเป็น Tm เมื่อมีการเติม Fe2O3 เป็นปริมาณ0.5 mol% อีกทั้งยังมีค่าการสูญเสียทางไดอิเล็กตริกที่ต่ำ นอกจากนี้ เซรามิกยังมีค่าความเครียดที่เกิดจากสนามไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Smax) ที่ 0.38 % โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเครียดทางไฟฟ้า (d*33) ที่ 580 pm/V และยังมีสัมประสิทธิ์ความเครียดของฮิสเทรีซิสต่ำมากเป็นพิเศษ (H = 8.03 %) พร้อมทั้งมีค่าสัมประสิทธิ์อิเล็กโทรสตริกทิฟ (Q33 ) ที่สูงถึง 0.0546 m4/C2) และมีค่าประสิทธิภาพการจัดเก็บพลังงานสูงสุด ที่ 98% นอกจากนี้ อนุภาคนาโนยังปรับปรุงพฤติกรรมแม่เหล็กและส่งผลให้สมบัติของเฟอร์โรอิเล็กทริกเปลี่ยนไป โดยการเติมอนุภาคนาโน ของ Fe2O3 ที่ 1.0 mol% เซรามิกจะแสดงสมบัติทางแม่เหล็กที่ดีโดยมีค่าสูงสุดของ Mr = 0.74 emu/g และ Hc =1791 Oe โดยมีค่าความจุสนามแม่เหล็กที่ค่าสูงสุด (-MC%) = 9.30% ทีปริมาณอนุภาคนาโนของ Fe2O3 =1.0 mol%
วัสดุไร้สารตะกั่วที่ทำการศึกษานี้ เป็นวัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีสมบัติที่ดีในด้านพลังงาน และส่งผลต่อสังคมในแง่ความปลอดภัยในการผลิตและการใช้งาน นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุหลายหน้าที่ ที่เป็นทางเลือกต่อภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
งานวิจัยถูกตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ Materials Science and Engineering : B ในปี 2022 (Q2 Scopus, Impact Factor 3.407)
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://doi.org/10.1016/j.mseb.2021.115579
อ้างอิง Jarupoom, P., Jaita, P., Sweatman, D.R., Watcharapasorn A. and Rujijanagul, G., Enhancement of electrostrictive and magnetic performance with high energy storage efficiency in Fe2O3 nanoparticles-modified Ba(Zr0.07Ti0.93)O3 multiferroic ceramics. 2022. Materials Science and Engineering B: Advanced Functional Solid-State Materials, 277, 115579